"เมื่อปี พ.ศ.2554 ได้มีการอบรมเรื่องการทอผ้า โดยมีป้ากลึง คาผุก , พึ่ยเท้ย และป้าไน ยอดทะเนีย เป็นครูผู้สอนได้งบประมาณจากศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จ.ราชบุรี (เดิมชื่อศูนย์ชาวเขา) จัดอบรมที่หมู่ 3 บ้าน ท่ายาง มีเยาวชนในหมู่บ้านหินสีเข้าร่วมอบรมการทอผ้า 3 คน หลังจากได้รับการอบรมเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ทอผ้า กันมาเรื่อยๆ ต่อมาในปี พ.ศ.2557 ได้ก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทย–กะเหรี่ยง ตำบลยางหัก ขึ้นที่หมู่ 4 บ้านหินสี และได้มีการจัด อบรมต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรม จึงเชิญชวนเยาวชนในชุมชนเข้าร่วม เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง และได้รู้จักวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงมากขึ้น ปัจจุบัน (พ.ศ.2567) มีสมาชิกประมาณ 20 คน เข้าร่วมทำกิจกรรมที่ทางศูนย์วัฒนธรรมฯ จัดขึ้นตามประเพณีวัฒนธรรม เช่น งานบุญข้าวใหม่ (อั๊งบึ้งซั่ง) , ประเพณีก่อเจดีย์ทราย (ก่องป๊ะตึ่ย) เวียนศาลา (ไค่ก่อง) , พิธีไหว้ศาลเจ้าพ่อทองดำ , งานกินข้าวห่อ (อั๊งหมี่ถ่อง) , ประเพณีแห่ช่อดอกไม้ (ซ่งทะเดิ่ง) และได้จัดกิจกรรมฝึกทอผ้ากะเหรี่ยง “รุ่นพี่สู่รุ่นน้อง” ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกรำเพลงกะเหรี่ยง ให้กับรุ่นน้องได้แสดงตามงานประเพณีต่างๆ เพื่อปลูกฝังให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ได้สืบสานวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบต่อไป "
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the .
เลขที่ : หินสี ต. ยางหัก อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี 70140
น.ส.จีรนันท์ ทองไร่ , น.ส.กาญจนา มหาลาภก่อเกียรติ และ น.ส.ชุติมา มหาลาภก่อเกียรติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขต ราชบุรี :