การตีหึ่ม ชุมชนดอนยายหอมมีการละเล่นพื้นบ้านในอดีตที่คล้ายคลึงกับหลายพื้นที่ ได้แก่ การตีหึ่ม การโยนลูกช่วง มอญซ่อนผ้า วิ่งเปรี้ยว ปิดตาตีหม้อ และเสือกินวัว ซึ่งในปัจจุบันการละเล่นบางชนิดได้สูญหายไป เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ ชาวบ้านในชุมชนดอนยายหอมมีความต้องการให้มีการฟื้นฟูการละเล่นเหล่านี้ขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากมีแนวคิดว่าเป็นการละเล่นที่สร้างความสนุกสนานและเสริมสร้างความสามัคคีให้แก่ชาวบ้าน รวมทั้ง ช่วยให้คนในชุมชนรู้จักใกล้ชิดกันทั้งกลุ่มผู้ใหญ่และเยาวชนจากการทากิจกรรมเหล่านี้ร่วมกันการละการตีหึ่ม ไม้หึ่ง ชื่อเรียกอื่น บักหึ่ง บักหุ่น ตีปลาค่อไม้คิด ไม้ต่อด้าม ไม้หึ่ม ไม้จ่า ไม้จิ้มด้อง ไม้คลี อีหึ่ง ตีหึ่ง หรือ ตีหึ่ม เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่เล่นกันแพร่หลายในแทบทุก จังหวัดของภาคกลางสมัยก่อน เช่น กรุงเทพฯ ธนบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ไม้หึ่งมีชื่อเรียก แตกต่างกันหลายชื่อ เช่น ไม้หึ่ง หึ่ง หรือหึ่ม บางท้องถิ่นเรียกว่า ไม้จ่า นิยมเล่นกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ และมักเล่นกันเป็นการสนุกสนานในฤดูหนาว หลังจากชาวบ้านเก็บ เกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว พบว่ามีการเล่นกีฬาไม้หึ่งตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในการเฉลิมฉลองเนื่องในงานพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ จ.ศ.1151 (พ.ศ.2332) มีการเล่นไม้หึ่ง และไม้จ่ารวมอยู่ด้วยปรากฏ หลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวบ้านนิยมเล่นกีฬาไม้หึ่ง เป็นการออกกาลังกายกันทั่วไป ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ 2457 พบว่ามีการเล่นกีฬาไม้หึ่งและไม้จ่าในงานตรุษสงกรานต์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
กีฬาภูมิปัญญาไทย : SM : Folk Sport game and Martial arts การเล่นพื้นบ้าน
.
เลขที่ : วัดดอนยายหอม ต. ดอนยายหอม อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม 73000
นักวิชาการ และชาวบ้าน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครปฐม
ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : 2566 Open Call