เมื่อประมาณ 200 ปีก่อน ชุมชนกะเหรี่ยงได้อพยพมาจากหลายเเห่ง จนได้มาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านเเห่งนี้ เดิมเเรกอาศัยอยู่ประมาณ 10-12 ครัวเรือน มีชื่อหมู่บ้านว่า “พุกรูด” (ชาวกะเหรี่ยงเรียก พุกอก) เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มมีผู้คนเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่แค่ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเท่านั้น แต่ยังมีคนไทย เข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยมีนายโพธิ์ อุยพอง เป็นผู้นำหมู่บ้าน (2497) เเละได้ให้นายอินทร์ คาผุก มาดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านแทน หมดวาระในปี พ.ศ.2510 ต่อมานายถอ บุญเจาะ ได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านมาเป็น “หนองใหญ่ “(เนื่องจากในหมู่บ้านมีบ่อน้ำขนาดใหญ่) พัฒนาหมู่บ้านเรื่อยมา จนครบวาระ และในปี พ.ศ.2525 นายเสม บุญอานันทนะ ได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งในปีนั้นหมู่บ้านแห่งนี้ได้มีการทำสัมปทานเหมืองแร่ มีแร่หลากหลายสี ต่อมาจึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านมาเป็น “หมู่บ้านหินสี” และทำการพัฒนาหมู่บ้านจนเกษียณ และต่อมานายถวัลย์ ติ่งทองได้รับคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านหินสี(2530) และ เป็นกำนันตำบลยางหัก(2552) จนเกษียณอายุราชการปี พ.ศ.2558 และในปีเดียวกันได้ทำการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ นายแย้ม พันธ์กล่อม ดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ.2558 จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.2562 ต่อมานางมุนิตา มหาลาภก่อเกียรติ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านปี พ.ศ.2562 เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.2563 และนางสาวขวัญจิต กล้าหาญ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านปี พ.ศ.2564 และได้ดำรงตำแหน่งเป็นกำนัน จนถึงปัจจุบัน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the .
เลขที่ : หินสี ต. ยางหัก อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี 70140
อดีตกำนันถวัลย์ติ่งทอง,นายแช่ม นกยูงทอง
น.ส.จีรนันท์ ทองไร่ , น.ส.กาญจนา มหาลาภก่อเกียรติ และ น.ส.ชุติมา มหาลาภก่อเกียรติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขต ราชบุรี :