ชาวบ้านเมืองเตาในอดีตที่ทอผ้าส่วนใหญ่นั้นจะมีอายุตั้งแต่กลางคนขึ้นไป ซึ่งหนุ่มสาวจะไม่นิยมทำกันเนื่องจากเมื่อว่างเว้นจากการทำนาบรรดาหนุ่มสาวก็จะเดินทางไปทำงานโรงงานในกรุงเทพฯ การทอผ้าบ้านเมืองเตาเริ่มมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษแต่เป็นการทอเพื่อสวมใส่หรือใช้ในครัวเรือนเท่านั้น มาในสมัย 2500 เริ่มมีการทอผ้าเพื่อขายมากขึ้นเนื่องจากในชุมชนสามารถหาซื้อผ้าสำเร็จรูปได้แล้ว แต่ในชุมชนเมืองเตายังเหลือบางคนที่ยังทอผ้าอยู่บ้างเช่น แม่บุดดา อาสากิจ ซึ่งเป็นการเริ่มทอผ้าเพื่อขายเนื่องจากทอทุกวันและมีผู้มาสั่งซื้อเป็นของชำร่วยในงานแต่งงาน โดยคนในชุมชนเมืองเตาเองที่มาสั่งซื้อยังไม่มีบุคคลภายนอก ประมาณ พ.ศ.2530 การทอผ้าในชุมชนเริ่มหายไปแต่แม่สมพลอย เหล่าชัยได้รับการสืบทอดการทอผ้ามาจากมารดาทำให้มีอาชีพทอผ้าเพื่อขายอยู่เป็นประจำต่อจากมารดาที่เสียชีวิต เป็นการทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ประกอบกับการใส่ลวดลายต่างๆ ใส่สีเพื่อความสวยงามให้มีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้นเนื่องจากมีลูกค้ามาสั่งผลิตเพื่อใช้ในงานแต่งเป็นส่วนมาก ประมาณ พ.ศ. 2564 รัฐบาลเริ่มเข้ามาสนับสนุนโดยรัฐบาล เริ่มมีการรวมกลุ่มโดยผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนมารวมกลุ่มช่วยกันทอผ้าจากการสนับสนุนวัตถุดิบ ตลอดจนเครื่องมือการทอผ้าทั้งหมดสามารุสร้างรายได้ให้กับชุมชนถึง 1-2 แสนบาท โดยคนแก่ที่ไม่สามารถทอผ้าได้ก็ช่วยมัดหมี่ ปั่นได้ เป็นกิจกรรมภายในชุมชน แต่ปัจจุบันคนแก่ในชุมชนเริ่มเสียชีวิตจากไป ขาดคนมาสืบทอดซึ่งลูกหลานก็ไม่อยากช่วยทำ พ.ศ. 2567 เมื่อมีกล่มมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยหน่วยวิจับ บพท. เข้ามาสับสนุนและดำเนินการค้นหาทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้ออกมาพัฒนาเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน และกลุ่มทอผ้าเองก็อยากได้รับการสนับสนุนเรื่องลายผ้า ตลอดจนการขายสินค้าในช่องทางออนไลน์ต่อไป
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
.
เลขที่ : บ้านเมืองเตา ต. เมืองเตา อ. พยัคฆภูมิพิสัย จ. มหาสารคาม 44110
นางสมพลอย เหล่าชัย อายุ 57 ปี
48 หมู่14 ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : 2567 Festival