ธุงอีสาน เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมสำคัญของชาวอีสานมาอย่างยาวนาน เชื่อกันว่าสามารถใช้ป้องกันสิ่งนิสัยไม่ดีร้ายหรือสิ่งไม่ดีที่มองไม่เห็นหรือภูตผีวิญญาณที่จะมารบกวนงานบุญ หากเห็นธุงแล้วจะถอยออกไป พร้อมกันนั้นยังเป็นการบอกกล่าวบวงสรวงเทพยดาในพื้นที่ว่ามีการทำบุญและมีพิธีการสำคัญให้มาช่วยปกป้องคุ้มครอง ลักษณะธุงของชุมชนบ้านเมืองเตาเป็นธุงใยแมงมุม มีลักษณะสำคัญ คือ ทำด้วยเส้นด้ายหรือเส้นไหมผูกคล้ายใยแมงมุม ทั้งแบบสี่ด้านหรือหกด้าน ทำมาจากเส้นไหมหรือเส้นด้ายหลากหลายสีสันมัดกับไม้ไผ่เหลาแล้ว มัดและม้วนจนเป็นวงรอบคล้ายใยแมงมุมที่โยงไปโยงมา เมื่อเสร็จก็นำมาร้อยเข้าเป็นสายเดียวกันหรือตามรูปแบบต่างๆ ที่ออกแบบให้สวยงาม แล้วจึงนำไปตกแต่งมณฑลพิธีหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ธุงใยแมงมุม ยังสะท้อนความเชื่อหลายอย่างด้วยกัน อาทิ แทนการเชื่อมโยงวิญญาณหลังความตาย รวมถึงเป็นกุศโลบาย หมายถึง สายใยนำสู่พระธรรม เป็นบุญเป็นกุศลให้คนที่ประดิษฐ์ธุงแมงมุมถวายเป็นพุทธบูชา ได้ยึดเกาะสายใยนี้สู่ภพแห่งพระศรีอริยเมตไตรยหรือสู่นิพพาน เป็นต้น จากการมีโครงการของหน่วยบริหารและพัฒนาพื้นที่(บพท.)สนับสนุนงบประมาณมหาวิทยาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในการทำโครงการเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับชุมชนและสร้างสรรค์เทศกาลทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน จึงมีแนวคิดการสร้างธุงรูปเต่าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในการไหว้เจ้าพ่อศรีนครเตาซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนเคารพนับถือ และสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนในการประดิษฐ์สิ่งธุงเพื่อเป็นสิ่งบูชาเจ้าพ่อศรีนครเตา
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.
เลขที่ : บ้านเมืองเตา ต. เมืองเตา อ. พยัคฆภูมิพิสัย จ. มหาสารคาม 44110
นางสมพลอย เหล่าชัย
48 หมู่ 14 ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : 2567 Festival