ช่างโป่ง แม้จะไม่ได้เป็นช่างตีกริช แต่เป็นคนสำคัญคนหนึ่งในการสร้างช่างตีกริช ที่กล่าวเช่นนี้ ด้วยช่างโป่งเป็นคนประสานงานให้ช่างหลายคนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการการพัฒนานายช่างกริชในโครงการวัฒนธรรมกริชในภาคใต้ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญของโครงการคือการรื้อฟื้นให้ช่างตีกริชหวนกลับคืนมาสู่สังคมในภาคใต้ซึ่งได้หมดไปแล้วหรือหายสาบสูญไปเป็นระยะเวลาเกือบ 50 ปี เมื่อมีโครงการดังกล่าวช่างโป่งได้ประสานช่างในพื้นที่คาบสมุทรตั้งแต่อำเภอสทิงพระจนถึงอำเภอระโนดให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เช่น เช่น ช่างตีเหล็กจากอำเภอกระแสสินธุ์ จากอำเภอระโนด เป็นต้น ชึ่งช่างที่เข้าร่วมและได้ประกอบอาชีพสืบมาจนถึงปัจจุบันได้แก่ ช่างเขียว (ประทีป ทองคำ) ช่างไท(อุทัย บรรจงรัตน์) เป็นต้น ซึ่งช่างโป่งเข้าร่วมการฝึกปฏิบัติการทุกวันจนตลอดโครงการ กล่าวได้ว่า หากช่างโป่งจะเปิดโรงตีเหล็กเอง คงสามารถตีเหล็กและตีกริชได้เป็นแน่แท้ แต่อย่างไรก็ตามเป็นพิเศษของช่างโป่งไม่ได้อยู่ที่การตีกริช แต่ท่านเป็นนักสะสมชิ้นงานโบราณของศาสตราวุธที่เคยมี เคยใช้อยู่ในพื้น ด้วยความรู้ที่ทำให้ช่างโป่งเข้าร่วมโครงการดังกล่าว และเพิ่มเติมจากวงเสวนาของช่างกริชที่ต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์งานเก่าและนำความรู้มาสร้างสรรค์ชิ้นงานต้นแบบ ส่งผลให้ความรู้เดิมเพิ่มเติมด้วยความรู้ใหม่ ส่งผลให้ช่างโป่งตกผลึกในศาสตร์ความรู้ด้านโลหะกรรมพื้นบ้านของสำคัญในปัจจุบัน และงานสะสมของช่างโป่งยังมีคุณูปการต่อการสร้างสรรค์ชิ้นงานของช่างยุคใหม่ทั้งนำไปเป็นต้นแบบ ทั้งการให้ความรู้แก่ช่างในเชิงวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่มากล้น ส่งผลให้ช่างโป่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นสารานุกรมด้านโลหะกรรมพื้นบ้านคนหนึ่งในปัจจุบัน และยังเป็นคนสะสมชิ้นงานที่มีคุณค่าสูง และที่สำคัญชิ้นงานที่ช่างโป่งสะสมส่วนใหญ่เป็นงานที่ได้มาจากพื้นที่ในคาบสมุทร สิ่งเหล่านี้ในปัจจุบันได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญที่จะใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ศาสตร์ทางด้านโลหะกรรมโดยตรง นอกจากนั้นยังมีคุณูปการด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่สำคัญ อันจะเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธุ์ของวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระที่เชื่อมโยงกับแหล่งอื่นๆ ในพื้นที่โดยรอบทั้งในปัจจุบันและอนาคต
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องโลหะ
.
ดร. ณภัทร แก้วภิบาล : มหาวิทยาลัยทักษิณ : 2566 Open Call