“ผ้าเหยียบลายลูกแก้ว” เพราะเป็นลายที่มีความสวยงามเหมือนลูกแก้ว มีเอกลักษณ์ทั้งลวดลายและวิธีการทอเฉพาะตัว มีลักษณะการทอแบบยกดอกตลอดทั้งผืน ภาคอีสานเรียกการทอยกดอกว่า การขิด มีการเก็บลวดลายไว้ที่ฟืมทอผ้าที่เรียกว่า ตะกอ หรือเรียกว่า เขา การทอผ้าเหยียบลายลูกแก้วที่ทำให้เกิดลวดลายเด่นชัดจะมีตั้งแต่ 4 ตะกอขึ้นไป แต่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จะนิยมทอ 4 ตะกอ เพราะจะได้ลายผ้าที่เหมาะสม พอดีตัว ลายไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป การทอผ้าเหยียบลายลูกแก้วในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ซึ่งมีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า ผ้าแพรเหยียบ หรือ ผ้าเหยียบ หรือ ผ้าเก็บ ซึ่งเรียกตามลักษณะวิธีการทอที่เกิดจากการเหยียบไม้สลับตะกอ เพื่อให้เกิดลวดลายในตัวผ้า ก็คือลายลูกแก้ว ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ผ้าเหยียบลายลูกแก้ว”
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.
เลขที่ : บ้านหนองอารี ต. ดินแดง อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180
ธีรพงศ์ สงผัด
นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call