“ปะกำ” มีลักษณะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ขอมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในลักษณะที่เป็นแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมความเชื่อ และประเพณีท้องถิ่น อีกทั้งยังมีความสำคัญกับเรื่องราวประวัติศาสตร์การสร้างบ้านแปลงเมืองของคนศรีสะเกษ ที่มีการเชื่อมโยงกับตำนานบรรพชนที่เคยร่วมจับช้างเผือกกับเจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑) เมื่อครั้งก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ จนเกิดเป็นตำนาน “ปฏิยาย” นามว่า “ตากะจ๊” ผู้เฒ่าส่วยกูยเขมรป่าดงแห่งดินแดนอีสานใต้ วัฒนธรรมผีปะกำ ที่ยังคงมีชุมชนชาวกูยหรือชาวส่วยสืบทอดรักษาความเชื่อและปรนนิบัติต่อความเชื่อด้วยความนอบน้อมและความเคารพ ยำเกรงต่อบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของดวงวิญญาณบรรพชน แสดงให้เห็นถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมชาวกูยหรือชาวส่วยที่เคยเป็นพื้นที่จับช้างที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ ตลอดจนเป็นการเชื่อมโยงหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับบรรพชนนานว่า “ตากะจ๊ะ” และเหล่าบรรพชนท่านอื่นๆ ที่เคยจับช้างเผือกส่งให้กับพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑) ได้อย่างสอดคล้องและเชื่อมโยง ระบบความเชื่อเรื่องผีปะกำสะท้อนให้เห็นถึงระบบอำนาจของผู้อาวุโสในสายตระกูลได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ความเชื่อเรื่องผีปะกำเป็นคติความเชื่อในลักษณะการถ่ายโอนอำนาจจากผีบรรพบุรุษไปสู่ผู้อาวุโสในสายตระกูล ทำให้ผู้อาวุโสได้รับความเคารพเชื่อฟังจากสมาชิกในตระกูล เป็นผู้นำในการประกอบพิธีเซ่นสรวงผีปะกำ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีอำนาจสั่งการทุกอย่างในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีปะกำ คติความเชื่อเรื่องผีปะกำยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับโครงสร้างสังคมส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบทางโครงสร้างเศรษฐกิจและการควบคุมการใช้ทรัพยากรของชุมชน บทบาทของเพศชายและเพศหญิง การจัดระเบียบครอบครัว เครือญาติและสายตระกูล ตลอดจนคติความเชื่อของคนในท้องถิ่นพิธีกรรมความเชื่อเรื่องผีปะกำที่ดำรงอยู่ในชุมชนทุกวันนี้ ยังคงทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนใน ระดับ คือ ระดับครอบครัว และระดับปัจเจกบุคคล ในระดับครอบครัว
จับต้องได้ : Tangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : บ้านปะอาง ต. ปราสาทเยอ อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180
ธีรพงศ์ สงผัด
นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call