กำไลข้อมือ มีแรงบันดาลใจมาจากรูปร่างของลายผ้า “ลายลูกแก้ว” ผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดศรีสะเกษ เป็นลายผ้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของชาวไพรบึง ทำจากหม้อเก่า มาหลอมละลายในเตาถ่าน ประมาณ 30 นาที หม้ออลูมิเนียมละลายเป็นของเหลว นำมาเทลงแม่พิมพ์ที่ทำจากดินเหนียวในพื้นที่อำเภอไพรบึง ปั้นเป็นหลุมยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 25 นาที แท่งอลูมิเนียมจะเริ่มแข็งตัว แล้วนำไปตีเป็นรูปทรงของกำไล ขัดเรียบด้วยเครื่องเจียระไนไฟฟ้า นำมาตอกลายด้วยดุ้นเหล็กที่แกะลายลูกแก้วขึ้นมาใหม่ ตอกลายเรียงกันเป็นแถวด้วยน้ำหนักที่ตอกต้องเท่ากัน จะทำให้เกิดลวดลายที่สวยงาม จากนั้นนำแท่งกำไลมากดให้โค้งงอเป็นรูปโค้ง ตอกกำไลให้เป็นทรงโค้งด้วยค้อนไม้ โดยจะใช้เขาควายเป็นตัวรองรับความโค้งด้านล่าง ทำให้เกิดรูปทรงที่สวยงามโค้งลับเข้ากับแขนได้พอดี จากนั้นนำกำไลไปลงสีดำ สีดำลงไหลลงไปอยู่ในลายที่เราตอก แล้วใช้ผ้าแห้งเช็คให้เนื้อกำไลสะอาด สีจะหลุดไปกับผ้าเหลือไว้ติดกำไลไว้แค่ส่วนที่อยู่ในลายลูกแก้ว ตากให้แห้งแล้วนำมาขัดวาวด้วยเครื่องเจียระไนไฟฟ้า หลังจากขัดจนวาวนำไปล้างด้วยน้ำยาล้างจาน ล้างน้ำเปล่า ให้สะอาด เช็ดให้แห้งก็สามารถนำไปจำหน่ายได้
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องประดับ
งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.
เลขที่ : บ้านสำโรงพลัน ต. สำโรงพลัน อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180
ธีรพงศ์ สงผัด
นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call