"ผ้าหางกระรอก" อาจเป็นเพราะลวดลายของผ้าทอที่มีลักษณะเนื้อผ้าที่มีความเหลือบสี เห็นเป็นลายเส้นเล็กๆ ในตัว ซึ่งมองดูแล้วคล้ายกับขนของหางกระรอก ชาวกูยนิยมใช้และทอผ้าไหมควบ สตรีชาวกูยมีความชำนาญในการตีเกลียวเส้นไหม เรียกว่า ละวี หรือ ระวี ตามความเชื่อ เรื่องความกลมเกลียวสามัคคีกันในครอบครัวและสายตระกูลที่นับถือผีด้วยกัน การนำไหมสองสีมาควบกันเรียกว่า “กะนีว” หรือ “ผ้าหางกระรอก” เมื่อนำมาใช้เป็นเส้นพุ่งทอกับเส้นยืน สีพื้นจะทำให้เกิดลายเหลื่อมกันเป็นสีเหลืองคล้ายหางกระรอก ลักษณะของผ้ากะนีวนี้ผิวสัมผัสจะมีความมันระยิบระยับ เมื่อนำไปส่องกับแดดจะแยกสีได้ชัดเจน เทคนิคการทอผ้าโดยใช้ไหมเส้นพุ่ง 2 เส้น ควบกันโดยนำมาตีเกลียวควบเข้าด้วยกันให้เป็นเส้นเดียว โดยใช้อุปกรณ์ในการตีคือ ไน และโบก ผ้าหางกระรอกโดยทั่วไปนิยมใช้สีเหลืองมาควบ เมื่อนำมาทอเป็นเส้นพุ่งบนผืนผ้า จะทำให้ผ้าทอที่เป็นผ้าพื้นมีความสวยงาม จากสีเหลืองของไหม เส้นไหมสองเส้นสองสีมาตีเกลียวควบให้เป็นเส้นเดียวกัน เรียกว่า “เส้นควบ” , “เส้นลูกลาย” หรือ “เส้นหางกระรอก”จากนั้นนำมาทอพุ่งขัดกับเส้นยืน ซึ่งใช้สีอีกหนึ่งอาจเข้มหรืออ่อนกว่าสีที่ใช้ เพื่อให้เกิดลายขัดเด่นขึ้นมาจะได้ผ้าพื้นที่มีลายเหลือบเล็กๆ ในเนื้อผ้าดูคล้ายจะมีปุยขนอ่อนขึ้นมาเหมือนกับเส้นขนของหางกระรอก จึงเรียกว่า“ผ้าหางกระรอก”
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.
เลขที่ : บ้านหนองอารี ต. ดินแดง อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180
ธีรพงศ์ สงผัด
นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call