PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : KP-33180-00012 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

กลุ่มชาติพันธุ์ลาว
Laotian ethnic group

อัตลักษณ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาว มีภาษาในการสื่อสารเป็นของตนเองทั้งภาษาพูด และภาษาถิ่นอื่นผสมกัน สำเนียงภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวลาวในพื้นที่อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษมีความแตกต่างจากสำเนียงของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพื้นฐานการพัฒนาและถิ่นฐานเดิมที่แตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งชาวลาวที่เคลื่อนย้ายมาจากอำเภอขุขันธุ์ หรือเมืองขุขันธ์เดิม วัฒนธรรมประเพณีจึงมีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นลาวผสมกับวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ใกล้เคียง หรือที่เรียกว่า “ลาวข้าวจ้าว” ความเชื่อต่อผีบรรพชนจะเป็นผีปู่ตา ผีฟ้าผีแถน มีวัฒนธรรมหมอแคน เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาวไพรบึง และยังปรากฏข้อมูลเชิงพื้นที่เกี่ยวกับสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงกลุ่มเจ้าลาวที่เรียกว่า “อัญญาเจ้า” จากเวียงจันทร์และเจ้าลาวจากจำปาสัก ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคสมัยสร้างบ้านแปงเมืองที่เรียกว่า เมืองขุขันธ์ แล้วจึงอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในพื้นที่อำเภอไพรบึง โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลไพรบึง ตำบลไพรบึง หมู่บ้านอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ลาว ได้แก่ บ้านโพง บ้านทุ่ม บ้านกอก



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. สำโรงพลัน อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

ธีรพงศ์ สงผัด

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :60 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 09/07/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 09/07/2024