อัตลักษณ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์เยอ มีภาษาพูดที่แสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีคำศัพท์ส่วนใหญ่คล้ายกับภาษาส่วยหรือกูย แต่มีสำเนียงที่แตกต่างและเพี้ยนไปจากภาษาส่วยหรือกูยตามสภาพแวดล้อม นักภาษาศาสตร์ให้ความเห็นว่าภาษาเยอ คือภาษาส่วยหรือกูยที่มีความใกล้ชิดกับภาษาลาว ส่วนภาษาส่วยหรือกูย คือภาษาเยอที่ใกล้ชิดกับภาษาเขมร อย่างไรก็ตาม ภาษาเยอจัดเป็นภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่นกัน โดยพบว่ามีการพูดภาษาดังกล่าวนี้ในบางพื้นที่ของอำเภอไพรบึง นอกจากนี้กลุ่มชาติพันธุ์เยอในพื้นที่อำเภอไพรบึง ยังมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องการทอเสลิก หรือตีนซิ่นแบบใช้ลูกตุ้มดินเผ่า เป็นตัวคำนวนสร้างลวดลายบนผืนผ้าได้อย่างงดงาม กลุ่มชาติพันธุ์เยอพบว่าอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลปราสาทเยอ กับตำบลสุขสวัสดิ์ รับประทานข้าวจ้าวเป็นหลัก มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นอีกอย่างคือการนุ่งผ้าถุงโฮลปีเดิม ใส่เสื้อไหมดำย้อมมะเกลือที่มีเม็ดเงิน (เงิมหมากค้อ) ห้อยติดแทนกระดุม จนเกิดมีอาชีพตีเม็ดเงินและกำไลเงินมาตั้งแต่โบราณ วัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับผีบรรพรุษ จะมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ส่วยหรือกูย และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เป็นหลัก คือมีความเชื่อต่อผีฟ้า ผีแถน ผีแม่เสะเอง (ชะเอง) ผีปะกำ มีอาชีพที่เป็นอาชีพดั้งเดิม คือการทำนา มีใช้ชะเนียงหรือชะนางสำหรับการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กตามทุ่งนา ปัจจุบันมีกลุ่มชาวบ้านได้นำมาสร้างสรรค์เป็นการแสดงที่สะท้อนถึงวิถีการทำมาหากินของกลุ่มชาติพันธุ์เยอ เรียกว่า รำชะเนียง ตำบลปราสาทเยอ หมู่บ้านอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์เยอ ได้แก่ บ้านปราสาทเยอเหนือ บ้านปราสาทเยอใต้ บ้านปราสาทเยอตะวันตก บ้านพิทักษ์ ตำบลสุขสวัสดิ์ หมู่บ้านอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์เยอ ได้แก่ บ้านโพนปลัด บ้านเขวา บ้านจังเอิญ
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.
เลขที่ : บ้านปราสาทเยอ ต. ปราสาทเยอ อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180
ธีรพงศ์ สงผัด
นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call