กลองยาว นับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยม และเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นในทุกภูมิภาคของไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นที่น่าเสียดายที่เยาวชนรุ่นใหม่ มีความสนใจในเครื่องดนตรีชนิดนี้น้อยลงเรื่อยๆ แต่ก็มีบางโรงเรียนที่เล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ จึงกำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากลองยาว กลองยาวมีลักษณะลำตัว หรือตัวหุ่นกองยาวตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายเรียวแล้วบานปลายเป็นรูปดอกลำโพง ตัวหุ่นกองทำด้วยไม้ ขึ้นหนังหน้าเดียวตรงกลาง เป็นโพรงทะลุติดต่อจากหัวถึงท้าย ขนาดของกองยาวที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้มี 3 ขนาด คือ กลองยาวขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่หน้าลองขนาด 7-8 นิ้ว เหมาะสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา กลองยาวขนาดกลาง มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่หน้ากองขนาด 9-10 นิ้ว เหมาะสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และกลองยาวขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่หน้ากลองขนาด 11-12 นิ้ว เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ที่ลำตัวกลองยาว มีสายสะพายสำหรับคล้องสะพานบ่า ใช้ตีด้วยฝ่ามือ แต่ในบางครั้ง ก็มีการตีด้วย เข่า ศอก เท้า หรือศีรษะ เมื่อมีการเล่นผาดโผน กลองยาวนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เถิดเทิง” หรือ “เทิ้งบ้องกลองยาว”
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.
เลขที่ : ต. ภูเขาทอง อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000
บ้านป้ามวล พี่พิศ
ญาณิศา เผื่อนเพาะ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : 2566 Festival