สมัยอดีตลุงแจ๊ะ ทองไร่(พ่อลุงวินิจ ทองไร่) ย้ายขึ้นมาอยู่ที่พุหวายเป็นบ้านแรก ย่าดำได้ให้สร้างศาลเพราะเชื่อว่าเป็นเจ้าที่ที่อยู่ในที่แห่งนี้และได้เข้าทรงว่าศาลนี้ต้องชื่อเจ้าพ่อทองดำ เป็นศาลประจำหมู่บ้าน(พุหวาย) และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุหวายนับถือ คนเฒ่าคนแก่เล่ากันว่าสมัยก่อนเคยมีพระอุ้มหมา ชีอุ้มแมวออกมาอาละวาดที่หมู่บ้านหินสี ทำให้ชาวบ้านหินสีและพุหวายหวาดกลัวและไม่กล้าออกจากบ้านกัน แต่ไม่มาออกอาละวาดที่พุหวาย เชื่อกันว่าเจ้าพ่อทองดำช่วยคุ้มครองชาวบ้านไม่ให้เกิดภัยอันตราย จึงจัดพิธีไว้ศาลเจ้าพ่อทองดำขึ้นเป็นประจำทุกปี (ขึ้น 9 ค่ำ เดือน6) ชาวบ้านจะนิยม นำหัวหมู ไก่ ไข่ต้ม เหล้า ข้าว ผลไม้ มาไหว้และจุดธูป 9 ดอก ขอพร ศาลตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเหรี่ยงตำบลยางหัก เเละได้มีการบูรณะใหม่ครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2555 (ครั้งที่ 3)
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events .
เลขที่ : หินสี ต. ยางหัก อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี 70140
นายวินิจ ทองไร่ , นางทวิช ทองไร่ และนางมุนิตา มหาลาภก่อเกียรติ
น.ส.จีรนันท์ ทองไร่ , น.ส.กาญจนา มหาลาภก่อเกียรติ และ น.ส.ชุติมา มหาลาภก่อเกียรติ 093-1191973,082-5491959,063-4953945
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขต ราชบุรี :