เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม และกิจกรรม ภายในหมู่บ้าน เช่น ในเดือน5 จะมีการก่อเจดีย์ทราย เวียนศาลา โดยแต่ละหมู่บ้านจะไม่ตรงกัน โดยจะมีการตกลงกันไว้ในสมัยบรรพบุรุษ เพื่อไม่ให้มีงานชนกัน เพื่อจะได้มีการไปมาหาสู่กันได้ เวลามีงานแต่ละหมู่บ้าน การก่อเจดีย์ทราย จะเริ่มที่หมู่บ้านแรก คือ 1.หมู่บ้านพุพลู ขึ้น15ค่ำ เดือน5 2.หมู่บ้านลิ้นช้าง แรม4ค่ำ เดือน5 3.หมู่บ้านห้วยเกษม แรม8ค่ำ เดือน5 4.หมู่บ้านท่าเสลา แรม13ค่ำ เดือน5 5.หมู่บ้านพุน้ำร้อน แรม14ค่ำ เดือน5 6.หมู่บ้านโปร่งวิเชียร แรม15ค่ำ เดือน5 อีก1พิธีกรรมของลานพิธีนี้ คือ การแห่พุ่มทะเดิง(ซ่งทะเดิง) เป็นการแห่พุ่มดอกไม้เพื่อรับพระพุทธเจ้าที่จะลงมายังโลกมนุษย์ ซึ่งพุ่มทะเดิงได้ดัดแปลงมาจากลักษณะของเสาหงส์ โดยลักษณะของพุ่ม จะมีสัญลักษณ์ของนกหงส์อยู่บนยอด แล้วประดับพุ่มด้วยดอกไม้ เช่น ดอกดาวเรือง หรือมีจิก็องเปย(โมบายผีเสื้อ)ประดับอยู่ด้วย ซึ่งจะจัดในช่วงเดือน11 ได้แก่ 1.หมู่บ้านพุพลู ขึ้น15ค่ำ เดือน11 2.หมู่บ้านลิ้นช้าง แรม4ค่ำ เดือน11 3.หมู่บ้านห้วยเกษม แรม8ค่ำ เดือน11 4.หมู่บ้านท่าเสลา แรม13ค่ำ เดือน11 5.หมู่บ้านพุน้ำร้อน แรม14ค่ำ เดือน11 6.หมู่บ้านโปร่งวิเชียร แรม15ค่ำ เดือน11 เสาหงส์ของศาลาประเพณีบ้านท่าเสลา มีมาจากการที่เหล่าทัพของพม่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยก่อน ได้มีการนำวัฒนธรรมเสาหงส์นี้เข้ามาด้วย แต่เมื่อพม่าถอยทัพกลับไป ก็ยังคงทิ้งร่องรอยของเสาหงส์นี้ไว้อยู่ โดยลักษณะเสาหงส์เดิมของหมู่บ้านท่าเสลา แต่เดิม เป็นเสาไม้ ตัวนกหงส์ที่อยู่บนยอด ก็แกะสลักด้วยไม้ ต่อมานางบ่าย หมูโคด(ป้าฝ้าย)ผู้ดูแลลานพิธีปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิม ผู้ดูแลคือนายปก หมูโคด(ตายอด)พ่อของป้าฝ้าย ตอนหลังได้ให้ป้าฝ้ายมาดูแลแทน ป้าฝ้ายได้มีการปรับปรุงและซ่อมเสาหงส์นี้ขึ้นมาใหม่ ได้เปลี่ยนเป็นเสาเหล็ก ตัวหงส์เป็นปูนปั้น
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space .
เลขที่ : ท่าเสลา ต. ยางน้ำกลัดเหนือ อ. หนองหญ้าปล้อง จ. เพชรบุรี 76160
นาง บ่าย หมูโคด
นางสาว บุษยาวัลย์ ภุงาม 095-7718181
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขต ราชบุรี : 2567 Open call