"แหล่งซากดึกดำบรรพ์เหมืองเชียงม่วน" เหมืองเชียงม่วน เป็นเหมืองถ่านหินขนาดเล็ก ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อ บริษัท เหมืองเชียงม่วน จำกัด ดำเนินการผลิตถ่านหินในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงปี พ.ศ. 2553 เมื่อเลิกกิจการจึงได้ส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เป้นอาคารจัดแสดงและพื้นที่สาะารณะให้กับ อบต.สระ อ.เชียงม่วน เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวตำบลสระและนักท่องเที่ยวที่สัญจรผ่านมา ในช่วงระหว่างที่มีการทำเหมือง ได้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ภายในบริเวณเหมืองมากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นกระดูกและฟัน ของช้างโบราณที่มี 4 งา (Gomphotherium sp.) จระเข้ ปลา อีเก้ง หมู ไพรเมต เต่า หอย และเมล็ดพืชโบราณ ซึ่งซากดึกดำบรรพืเหล่านี้เหล่านี้มีอายุในช่วงสมัยไมโอซีน ตอนกลาง (Middle Miocene) หรือราว 12-15 ล้านปีก่อน จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ที่พบในพื้นที่เหมืองเชียงม่วน พบว่า มีซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นชนิดใหม่ของประเทศไทย ได้แก่ เต้าโบราณ ชื่อว่า คูโอรา เชียงม่วนเอนซิส (Cuora chiangmuanensis) และ เอปโบราณ ชื่อว่า โคราชพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส ซากดึกดำบรรพ์เต่าน้ำจืดชนิด คูโอรา เชียงม่วนเอนซิส (Cuora chianmuanensis) เป็นเต่าน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก มีลักษณะใกล้เคียงกับเต่าหับในปัจจุบัน (Cuora amboinensis) ถือว่าเป็นบรรพบุรุษเต่าหับที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก ช่วยเผยถึงวิวัฒนาการและการแพร่กระจายของเต่าหับในทวีปเอเชีย และบ่งชี้ว่าเต่าหับที่แพร่กระจายทั่วเอเชียในปัจจุบันมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทยนั่นเอง จึงได้รับการประกาศให้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 เมื่อปี พ.ศ. 2558 เอป (Ape) หรือลิงไม่มีหางขนาดใหญ่เป็น บรรพบุรุษของอุรังอุตัง การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ฟันจำนวน 18 ซี่ ของเอปในเหมืองเชียงม่วน เป็นการค้นพบซาก ดึกดำบรรพ์เอปครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกับเอปที่พบที่จังหวัดนครราชสีมา สกุล โคราชพิเธคัส (Khoratpithecus) ต่างกันเฉพาะขนาดของฟันหน้าและกรามซี่ในสุดที่ใหญ่กว่า จึงตั้งชื่อเป็นชนิดใหม่ของโลก ชื่อว่า โคราชพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส (Khoratpithecus chiangmuanensis) โดยเอปเชียงม่วนจะมีน้ำหนักประมาณ 50 – 70 กิโลกรัม มีลักษณะใกล้เคียงกับอุรังอุตังในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบไพรเมทที่จังหวัดกระบี่ แสดงให้เห็นว่าทวีปเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการของมนุษย์ได้เช่นกัน ปัจจุบันซากดึกดำบรรพ์ 18 ชิ้น ได้ประกาศให้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 เมื่อปี พ.ศ. 2557 และปี 2562
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : ตำบล สระ อำเภอ เชียงม่วน จังหวัด พะเยา ต. สระ อ. เชียงม่วน จ. พะเยา 56160
นาย นพชัย กันทะหลั่น
0813871462. amaiest@hotmail.com
ผศ.ดร.อัมเรศ เทพมา : มหาวิทยาลัยพะเยา : 2567 Open call