ภาษาและวรรณกรรม ภาษาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทั้งในรูปแบบภาษาพูดและภาษาเขียน ซึ่งมีลักษณะทั้งการออกเสียงหรือรูปลักษณ์ของตัวอักษรที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ตามชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น จารึกและคัมภีร์ภาษาต่าง ๆ ตัวอักษรแบบต่าง ๆ เช่น อักษรไทย อักษรขอม อักษรมอญ เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏในรูปแบบของวรรณกรรม นิทาน พงศาวดาร บทประพันธ์ ร้อยกรองต่าง ๆ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ภาษามักปรากฏร่วมกับเอกสารตัวเขียนและเสียงพูดหรือการขับร้อง มีทั้งที่เป็นคำธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่าวรรณกรรม ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน ตำนานเมือง เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมักถ่ายทอดโดยการเล่า การร้อง หรือขับเสภา เป็นต้น ซึ่งทุนวัฒนธรรมทวารวดีนครปฐมที่ค้นพบ ได้แก่ ภาษาถิ่นไทยทรงดำ ตำนานพระยากง พระยาพาน (ตำนานถนนขาดและถ้ำปรึกษา) ตำนานยายหอม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ภาษา : EL : Thai local and Ethnic Languages ภาษาไทยถิ่น
ภาษากลุ่มชาติพันธุ์
.
เลขที่ : วัดสะแกราย ต. ดอนยายหอม อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม 73000
นักวิชาการ และชาวบ้าน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครปฐม
ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : 2566 Open Call