PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-22000-00008 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ช่างทอเสื่อ
Mat Weaver

การทอเสื่อมีการสันนิษฐานว่าก่อนการอพยพเข้ามาในจังหวัดจันทบุรี ชาวเวียดนามได้ไปพำนักอาศัยอยู่ในประเทศเขมรระยะหนึ่ง ในช่วงที่อยู่ในเขมรนั้นชาวเวียดนามจำเป็นต้องปลอมตัวเป็นคนเขมร ดังที่จะได้เห็นชาวเวียดนามของชุมชนวัดคาทอลิกในอดีตยังแต่งชุดแบบ “อ๊าวโกเมน” ซึ่งเป็นชุดที่ใส่เพื่อหลบพลางตัวหลบหนีจากตระกูล ตรินท์ ที่ตามล่า อาชีพทอเสื่อกับชาวเวียดนามอพยพนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะการทอเสื่อของกลุ่ม ชิสเตอร์ในวัดคาทอลิกที่นิยมทอเสื่อกันมากในเวลาว่างวัตถุประสงค์ของการทอเสื่อในกลุ่ม ชิสเตอร์เหล่านี้ในช่วงแรกเพื่อเอาไว้ ขายเลี้ยงชีพเลี้ยงอาราม กล่าวได้ว่าชาวคาทอลิกเวียดนามถือเป็นผู้วางรากฐานในการถอดเสื่อ กระทั่งเป็นเสื่อที่มีชื่อเสียงในทุกวันนี้เพิ่งรู้จักกันดีในนามของ เสื่อจันทบูร ในอดีตมักไม่นิยมเรียกชื่อนี้ ชื่อที่นิยมเรียกกันในอดีตคือ เสื่ออาราม และ เสือแม่ชี บางครั้งอาจเรียกว่า เสื่อญวนอพยพ หรือ เสื่อญวนหลังวัด เป็นต้น การเสื่อกกจันทบูร ก่อกำเนิดจากชาวญวนคาทอลิกเป็นผู้เริ่มทำเป็นรายแรกในประวัติศาสตร์การทำเสื่อ กล่าวกันว่า ประมาณช่วงปี พ.ศ.2395 มีแม่ชีชาวญวน เป็นผู้สอนวิธีการทอเสื่อ จึงเรียกเสื่อที่ทอว่า “เสื่อแม่ชี (ซิสเตอร์)” วัตถุประสงค์ของการทอเสื่อของกลุ่มซิสเตอร์เหล่านี้เพื่อเลี้ยงชีพ ขณะเดียวกันวัดคาทอลิกในอดีตนั้นไม่มีเก้าอี้นั่งเหมือนดังเช่นปัจจุบัน ศาสนิกชนที่เข้าวัดส่วนใหญ่ต้องนั่งกับพื้นดังนั้นต้องนำเสื่อติดตัวมาด้วยหรือในบางครั้งวัดคาทอลิกจะเป็นผู้จัดเตรียมไว้ให้ อัตลักษณ์ที่ทำให้เกิดความแตกต่างจากเสื่ออื่นๆ คือการยกดอก เสื้อยกดอกเป็นเสื่อที่ทอขึ้นเป็นรูปภาพต่างๆ เช่น รูปนกยูง รูปดอกไม้ ลูกไก่ ซึ่งถือว่าเป็นการทอที่ต้องอาศัยความประณีตเป็นอย่างมาก ดังนั้นเสื่อยกดอกชาวบ้านทั่วๆไปจึงไม่นิยมทำ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการทอประกอบต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษดังนั้นจะมีแต่กลุ่มซิสเตอร์ในวัดคาทอลิกเท่านั้น ทำเนื่องจากเงื่อนไขในเวลามากพอในฐานะสภาพนักบวช แม้ในปัจจุบันการทอเสื่อยกนอกจะไม่มีให้เห็นทั่วไปแล้วดังนั้นทางซิสเตอร์ต้องมีภาระในการบริหารงานสอนโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ขณะเดียวกันผู้ทอเสื่อในลักษณะนี้ก็เหลือน้อยลงไปเรื่อยๆทำให้การทอเสื่อยกดอกหายไปจากจันทบุรีแล้ว อย่างไรก็ตามปัจจุบันภูมิปัญญาไทยยกได้รับการสืบสานจากโรงเรียนสตรีพระมารดาซึ่งได้รับอนุรักษ์และสืบสานหัตถกรรมการทอเสื่อตั้งแต่ปี 2536



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องจักสาร
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ชุมชนหลังวัดโรมัน หมู่ 10 ต. จันทนิมิต อ. เมืองจันทบุรี จ. จันทบุรี 22000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

นายณฐพงศ์ พ่วงภิญโญ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :75 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 03/08/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 03/08/2024


BESbswy