พระตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขตพุทธาวาส เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย ๒ ชั้น ลักษณะอาคารเป็นทรงเรือสำเภา ขนาดความยาว ๗ ห้อง ชั้นบนมีประตูทางเข้า ๓ ประตู อยู่ทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันดก ด้านละ ๑ ประตู มีหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ด้านทิศตะวันออก ๗ ช่อง ทิศตะวันตก ๖ ช่อง ภายในอาคารมีภาพจิตกรรมฝาผนังโดยรอบ ชั้นล่างของอาคารมีซ่องประตูและหน้าต่างเหมือนกับชั้นบน แค่หน้าต่างมี ลักษณะเป็นซุ้มโค้งยอดแหลม ภาพจิตรกรรมในพระตำหนัก ทางด้านทิศเหนือหรือผนังด้านดัด เขียนเรืองไตรภูมิโดยตอนบนสุดของผนังเขียนเป็นวิมานที่เรียงรายอยู่เป็นแถวตลอดแนวผนังชั้นกลางเขียนเป็นเขาพระสุเมรุและเขาสัดตบรรพต แม่น้ำนทีสีทันดร ทางด้านทิศตะวันดกเป็นภาพป้าหิมพานด์ และการกำเนิดของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ๔ สาย ที่ไหลออกมาจากปาก ช้าง ม้า วัว และสิงห์ ตอนล่างของภาพแสดงขุมนรกต่างๆ ทางด้านทิศตะวันออกเป็นรูปพระเวสสันดร ผนังทางด้านทิศตะวันตก เริ่มต้นทศชาติ เรื่องพระเตมีย์ชาดก จากทางมุมด้านทิศเหนือเรืองลำดับไปจนสุดผนังทางด้านทิศใต้ ผนังทางด้านทิศได้ เขียนภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งเหนือบัลลังก็ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีมารซึ่งเป็นคนต่างชาติกำลังเข้ามาผจญ ผนังด้านทิศตะวันออก เป็นภาพพระพุทธโมษาจารย์ เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทที่ลังกาภาพต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นภาพจิตรกรรมที่เขียนขึ้น ในสมัยอยุธยาตอนปลาย รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งมีอายุอยู่ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๐ ทั้งนี้ภาพจิตรกรรมฝาผนังยังปรากฏหลักฐานผสมผสานตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ภาพยักษ์ หนุมาน ฤาษี เป็นต้น
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
โบราณวัตถุ : AA : Archeological Artefact .
เลขที่ : วัดพุทไธสวรรค์ ต. สำเภาล่ม อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000
ไวยาวัจกร วัดพุทไธสวรรค์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : 2567 Opencall