PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : FL-95140-00002 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ประวัติความเป็นมาของว่าวเบอร์อามัส
-

ประวัติความเป็นมาของว่าวเบอร์อามัสดั้งเดิมเป็นว่าวของเจ้าเมืองรามัน มีมาตั้งแต่เมืองรามันเดิม ภายหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะมีการขึ้นว่าวเบอร์อามัส ซึ่งเป็นว่าวของเจ้าเมือง เป็นว่าวที่ใช้ในการทำนายพยากรณ์อากาศว่า ทำนายฝนและฤดูกาล เพราะเจ้าเมืองในสมัยก่อน ตั้งแต่อาศัยที่เมืองรามันและย้ายไปอยู่โกตาบารูจะต้องทํานา ว่าวเบอร์อามัสเปรียบเสมือนเป็นว่าวทํานายฝน ความเป็นมาของว่าวเบอร์อามัสตามตํานานเล่าขานมาจาก “เมาะโย่ง” ซึ่งการทํานายจะมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับวรรณกรรม เทวบุตร (แดวามูดอ) ซึ่งเป็น เทวบุตรของเมาะโย่ง ว่าวเบอร์อามัสที่เขาสรรหากันในเรื่องของเมาะโย่งนั้น เขาได้ไปเจอแต่กระดูกสันหลังของว่าว ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกระดูกสันหลัง มีลักษณะสามเหลี่ยม โดยมีการขับร้องเพลงว่าวเบอร์อามัสว่า ซายัตซาแน หมายถึง การเติมปีก และมีสัญลักษณ์เป็นช้างศึกในตัวว่าวอยู่ด้วย



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature ตำนานพื้นบ้าน
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ตะโละหะลอ ต. ตะโล๊ะหะลอ อ. รามัน จ. ยะลา 95140

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นายตีพะลี อะตะบู (ปราชญ์ชาวบ้าน)

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

นูรีดา จะปะกียา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา : 2567 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :130 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 29/08/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 29/08/2024