PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : KP-44150-00004 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

กลุ่มปลาร้าบองสมุนไพร บ้านโนนทัน
Pla Ra Bong Group, Ban Non Than

จากในอดีตที่ผ่านมาลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งของชุมชนโนนทัน ที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำชีจึงเป็นพื้นที่พบปัญหาประสบภัยน้ำท่วมเป็นประจำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวผู้คนในชุมชนสามารถปรับตัวและรับมือสถานการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี สำหรับอาชีพของผู้คนในชุมชนช่วงก่อนทศวรรษ2500 ประกอบอาชีพทำนา และ เป็นชาวประมงท้องถิ่น ส่วนการหาอยู่หากินของผู้คนในชุมชนได้อาศัยแม่น้ำชี เป็นสถานที่จับปลาที่มีจำนวนมา เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน (ปลาขาว) ปลากรด ปลาสร้อย เป็นต้น เพื่อมาเป็นอาหารเลี้ยงตนเองและครอบครัว จึงส่งผลให้เกิดกระบวนการถนอมอาหารโดยการใช้ภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อแปรรูปปลาให้สามารถเก็บรักษาไว้เป็นอยู่นานๆ เช่น การนำปลามาทำปลาร้า ทำปลาแดดเดียว ซึ่งชุมชนโนนทันยังเป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางอาหารของผู้คน กล่าวคือ ผู้คนบางกลุ่มจากชุมชนของอำเภอแกดำ วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม รวมไปถึงผู้คนจากจังหวัดร้อยเอ็ด เดินทางมายังชุมชนโนนทัน เพื่อนำข้าวมาแลกเปลี่ยนปลา ปลาร้า อยู่เป็นประจำ บรรยายกาศการแลกเปลี่ยนสิ่งของเหล่านี้ได้ค่อยๆหายไป ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตร ในช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา เมื่อสังคมชนบทแปรเปลี่ยนสภาพจากวิถีดังเดิมเข้าสู่ระบบทุนนิยม ผู้คนในชุมชนต่างต้องทิ้งถิ่นเคลื่อนย้ายเข้าไปประกอบอาชีพตามหัวเมืองใหญ่ บทบาทของปลาร้า ปลาแดกบอง จึงกลายเป็นของฝากติดตัวบุตรหลาน ญาติพี่น้อง เมื่อเข้าไปทำงานยังที่ต่างๆในหัวเมืองใหญ่ จนกระทั้ง ทศวรรษ 2560 หน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาทำโครงการ 9101 โดยผู้รับผิดชอบโครงการคือ เกษตรอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้เข้ามาสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องบด สูตรการทำปลาร้าบอง และจัดตั้งกลุ่มการทำปลาร้าบองสมุนไพรขึ้น โดยในขณะนั้นมีสมาชิกจำนวน 15 คน (ปัจจุบันเหลือ13 คน) ซึ่งผู้คนในชุมชนมีภูมิปัญญาในการทำปลาร้าบอง เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงได้มีการปรับสูตรให้มีรสชาติที่เหมาะสมและถูกปากถูกใจผู้บริโภค ถัดมา พ.ศ.2561 หน่วยงานพัฒนาชุมชนได้เข้ามายกระดับกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจากการยกระดับในครั้งดังกล่าวส่งผลให้สมาชิกต้องปรับตัวจากเดิม คือ การลงทุน ในการผลิตปลาให้มีคุณภาพ เช่นการคัดเลือกปลาที่จะนำมาทำเป็นปลาร้าบอง ต้องเป็นปลานิล ที่สั่งซื้อมาจากจังหวัดกาฬสินธุ์และศูนย์ที่ขายปลาแดก (อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) และซื้อวัตถุดิบจากตลาด เช่น หอมกระเทียม มาเป็นส่วนหนึ่งของการปรุงรสปลาร้าบองให้ได้รสชาติตามที่ต้องการ บางส่วนที่รับซื้อจากชุมชน เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก ที่รับซื้อในราคาสมาชิก กระบวนการขายของกลุ่ม จะทำการจัดส่งไปยังร้านค้าชุมชนบ้านโนนตาล ที่เป็นเจ้าประจำที่สั่ง นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการมารับปลาร้าบองในชุมชนด้วยตัวเอง และนำสินค้าไปขายในงานต่างๆที่จังหวัดมหาสารคาม ขอความอนุเคราะห์ให้นำสินค้าไปขาย ซึ่งรายได้ของสมาชิกจะแบ่งปันผลกำไรตามความเหมาะสม ถ้าช่วงไหนขายดี 6 เดือนจึงจะปันผล แต่ถ้าช่วงไหนขายไม่ดี 1ปี จึงจะปันผล ปัญหาของกลุ่มปลาร้าบองสมุนไพร บ้านโนนทัน คือ ต้องการให้มีตลาดมารับสินค้า เพื่อขยายฐานลูกคาให้กว้างออกไปมากกว่าเดิม และแนวทางการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้กับปลาร้าบองสมุนไพร ของชุมชน



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านโนนทัน ต. มะค่า อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม 44150

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นางกรรณิการ์ พร้อมโกสุม

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

นางกรรณิการ์ พร้อมโกสุม (081-0058836)บ้านโนนทัน - ต.มะค่า อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2567 Open call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :40 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 23/09/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 23/09/2024