ในช่วงราวทศวรรษ 2530 เป็นต้นมาผู้คนในชุมชนกุดไส้จ้อบางส่วนของ ตำบลกุดไส้จ้อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้เคลื่อนย้ายเข้าไปเป็นแรงงานฝีมือในโรงงานตัดเย็บผ้าทำให้มีทักษะการตัดเย็บผ้าติดตัว ในช่วงราว พ.ศ.2545 เป็นต้นมาผู้คนบางส่วนได้เคลื่อนย้ายกลับมาอยู่ที่ชุมชน ทักษะการเย็บผ้าจึงติดตัวกลับมาประกอบอาชีพเย็บผ้า และ ผลิตเป็นมุ้งไก่ เพื่อเป็นรายได้เลี้ยงตนเองและสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ผู้คนในชุมชนยังมีภูมิปัญญาการจักสารผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ เช่นการสานซุ้มไก่ ซึ่งสิ่งเหล่าล้วนเป็นภูมิปัญญาทางทุนวัฒนธรรม ในช่วงพ.ศ.2565 การเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ติดต่อผ่านอำเภอกันทรวิชัย ให้ค้นหากลุ่มที่มีทักษะการตัดเย็บผ้าและภูมิปัญญาการจักสานไม้ไผ่ และได้แนะนำมายังชุมชนกุดไส้จ้อ ให้ผลิตโคมทวารวดี โดยทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นผู้ออกแบบ ส่วนผู้คนในชุมชนเป็นผู้ผลิต กระบวนการผลิตได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และปรับเปลี่ยนวัสดุให้มีความเหมาะกับการทำโคม เช่น การปรับจากผ้าด้ายดิบ มาเป็นผ้าร่มสีแดง สีขาว เป็นต้น สำหรับโคมทวารวดีเป็นสิ่งหนึ่งที่พยายามผลักดันให้เป็นสัญลักษณ์ในงานประเพณีลอยกระทง บุญคูนลาน ของอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ในอนาคต
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
.
เลขที่ : ชุมชนกุดไส้จ้อ ต. กุดใส้จ่อ อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม 44150
นางมะลิ ลีชาคำ
094-2566543
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2567 Open call