ในสังคมของชาวอีสาน ที่ปฏิบัติกันสืบมาถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันในประเพณี “บุญผะเหวด” สิ่งที่ผู้คนในชุมชนจะทำแจกผู้ที่มาร่วมงานบุญ คือ ขนมจีนและข้าวเกียบ ซึ่ง 2 สิ่งนี้เป็นที่ขาดไม่ได้ในบุญ โดยบ้านที่จัดงานต้องทำแจก ในอดีตที่ผ่านมาชุมชนบ้านขามเฒ่า ม.2 ตำบลขามเฒ่า อำเภอกันทรวิชัย ได้สืบสานการทำ “ข้าวเกียบ”เป็นอยู่ทุกครัวเรือน จนกระทั้งทศวรรษ 2540 ผู้คนในชุมชนได้ค่อยๆลดการทำข้าวเกียบ เหลือเพียง นางนุ่ม ไชยเมือง ที่ยังคงสืบสานภูมปัญญาการทำข้าวเกียบ จากผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญผะเหวดของชุมชน จากสาเหตุที่ผู้คนในชุมชนไม่นิยมทำข้าวเกียบ หันมาเป็นการซื้อแทน ทำให้นางนุ่ม ไชยเมือง มีรายได้จากการทำข้าวเกียบ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่จะมีการสั่งสินค้าในช่วงก่อนงานบุญผะเหวด ถือได้ว่าการสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่เคยทำมา นอกจากนี้ยังเป็นอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว นอกจากนี้นางนุ่ม ไชยเมือง ยังรับหน้าที่เป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้แก่โรงเรียนต่างๆ ในการทำข้าวเกียบ ขนมต้ม ขนมบาด ให้กับนักเรียนได้นำไปใช้เป็นความรู้ติดตัวต่อไป
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.
เลขที่ : บ้านขามเฒ่า ต. ขามเฒ่าพัฒนา อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม 44150
นางนุ่ม ไชยเมือง
บ้านขามเฒ่า ม.2 ต.ขามเฒ่า อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2567 Open call