PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : FL-44150-00002 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ตำนานจระเข้ท่าขอนยาง
The story of the Tha Khon Yang crocodile

ในราว พ.ศ. 2394 คือประมาณ 153 ปี ล่วงมาแล้ว บ้านเมืองสงบเรียบร้อยประชาชนอยู่กันด้วยความร่วมเย็นเป็นสุข อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ชาวประชาแซ่ซ้องสาธุการไปทั่วหน้า และในแผ่นดินสมัยนี้แดนดินถิ่นวังสามหมอ ยังเป็นป่าทีบ มีขุนเขา ลำห้วยมากมายยากที่จะหาผู้ใดมากล้ำกรายได้ จึงไม่มีผู้ใดรู้จักจนกระทั่งมีหน่วยล่าจระเข้ ของพระยาสุทัศน์ แห่งเมืองท่าขอนยาง มาพบเข้าความลี้ลับต่าง ๆ ของวังสามหมอ จึงได้ถูกเปิดเผยออกมา ประชาชนจากถิ่นต่างๆ จึงได้หลั่งไหลเข้าไปตั้งรกราก อาศัยทำมาหากิน จนกระทั่งปัจจุบัน พระยาสุทัศน์เป็นเจ้าเมืองท่าขอนยาง (ปัจจุบันคือบ้านท่าขอนยาง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม)มีภรรยาชื่อนางจันทรา อันว่าเมืองท่าขอนยางนั้น เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งลำ น้ำชีประชาชนมีความรักใคร่สามัคคี มีความสนุกสนานในฤดูมีงานประเพณี ต่างๆ พระยาสุทัศน์ กับนางจันทรา มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อนางคำบางเนื่องจากเป็นลูกสาวคนเดียว จึงทำให้พ่อแม่รักมาก ได้สรรหาสิ่งต่าง ๆมาให้เล่น และให้เป็นเพื่อนในสิ่งของที่พระยาสุทัศน์หามาให้นางคำบางเล่นเป็นเพื่อน นั้น มีสิ่งหนึ่งคือ จระเข้ได้เอามาเลี้ยงเป็นเพื่อนตั้งแต่ยังเล็ก ๆ โดยเลี้ยงไว้ที่ลำน้ำชีหน้าจวนของเจ้าเมือง เจ้าเมืองได้ตั้งชื่อจระเข้ตัวนี้ว่า ” ฉันท์ “แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ” บักเฮ้า ” นางคำบางมีความสนิทสนมกับบักเฮ้ามาก และเคยเล่นกันมาตั้งแต่เด็กๆ เวลา จะลงอาบน้ำ นางก็มักจะขี่หลังบักเฮ้าลงไปเป็นประจำ เนื่องจากบักเฮ้าได้รับการเลี้ยงดู มาเป็นอย่างดี และอยู่กับคนมานานทำให้มันเกิดความรู้จักสิ่งต่าง ๆ เช่นรู้จักรัก รู้จักกลัว รู้จักงานและรู้จักอื่น ๆ ตามวิสัยของสัตว์ จนกระทั่งนางคำบางมีอายุได้ 17-18 ปี เป็นสาวเต็มตัวและมีความสวยงามมาก สมกับเป็นลูกสาวของเจ้าเมืองฝ่ายบักเฮ้านั้น ร่างกายของมันก็ใหญ่โตขึ้นมาก ตามอายุ มีความยาววัดจากหัวถึงหาได้ 12 เมตร หรือ 24 ศอก อ้าปากได้กว้าง 2 วา หรือ 8ศอก วันหนึ่งเวลาพระตีกองแลง (ประมาณบ่าย 4 โมง ) นางคำบางได้ลงไปอาบน้ำในลำชีโดยขี่หลังบักเฮ้าเหมือนกับที่เคยขี่ ทุกครั้ง บักเฮ้าได้พานางคำบางลอยเล่นไปตามที่ต่าง ๆ ในลำน้ำได้รับความสนุกเพลิดเพลิน ทั้งบักเฮ้าและนางคำบาง ขณะที่สนุกสนานอยู่นั้น ได้มีจระเข้ตัวหนึ่ง ชื่อว่าบักนนท์อันว่าบักนนท์นี้ เป็นจระเข้ป่า คือไม่มีใครเลี้ยง อาศัยอยู่ในลำน้ำชีมีความใหญ่โตพอๆ กับบักเฮ้า เป็นจระเข้ที่เกเร ชอบไล่ฟาดกินคนและสัตว์เลี้ยงอยู่เนืองๆ เมื่อบักนนท์มองเห็นคนขี่หลังบัก เฮ้า มันจึงรี่เข้ามาหมายจะใช้หางฟาดและงับกินเป็นอาหาร จึงได้เกิดการต่อสู้กัน ระหว่างบักเฮ้ากับบักนนท์ เนื่องจากเป็นจระเข้ขนาดใหญ่ทั้งสองตัว การ ต่อสู้จึงเป็นไปอย่างรุนแรง ฉกาจฉกรรจ์ ท้องน้ำบริเวณต่อสู้กันปั่นป่วนคลื่นกระแทกฝั่งชีเป็นระลอก ๆ บักเฮ้าเห็นว่าการต่อสู้ครั้งนี้หนักมากประกอบกับมีความพะวักพะวง กลัวนางคำบางจะตกจากหลังแล้วถูกบักนนท์คาบไปกิน จึงได้ถอยผละออกจากการ ต่อสู้ชั่วคราวพร้อมกับคาบนางคำบางไว้ในปาก บักนนท์ เมื่อเห็นบักเฮ้าผละหนีจึงได้ตรงรี่เข้าไปไล่คาบบักเฮ้าเป็นการใหญ่ บัก เฮ้าจึงได้หันกลับไปต่อสู้อีกครั้งหนึ่ง และหลงกลืนนางคำบางลงไปใน ท้อง การต่อสู้จึงลงเอยด้วยชัยชนะของบักเฮ้า โดยบักนนท์ได้หลีกหนีไป พร้อมด้วยบาดแผลเหวอะหวะทั้งตัว ฝ่ายบักเฮ้าเมื่อได้รับชัยฃนะแล้วจะพานางคำบางกลับท่าก็เป็นเวลาค่ำ แล้ว ซ้ำมองหานางที่เคยขี่อยู่บนหลังก็ไม่เห็น และมองดูบนฝั่งเห็นเจ้าเมืองและคนอื่น ๆ มองดูอยู่เต็มฝั่งจึงได้คิดทบทวนเหตุการณ์ดู จึงได้รู้ว่าตนเองได้กลืนนาง คำบางลงไปในท้องแล้ว ถ้าจะเลยไปท่าน้ำก็กลัวเจ้าเมืองจะจับฆ่าและถ้าจะอาศัยอยู่ที่นี่ก็กลัวหมอ จระเข้ของพระยาสุทัศน์ จะทำร้ายเพราะโทษในครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก จำเป็นต้องหนีไปให้ไกลที่สุด เมื่อคิดได้ดังนั้น บักเฮ้าจึงรีบว่ายน้ำดำน้ำหนีไปอย่างเร่งรีบ มุ่งหน้า ตามลำน้ำหนีไปเรื่อย ๆ เมื่อมาถึงบริเวณปากลำน้ำปาว ไหลตกลำชีเห็นว่าถ้าขึ้นไปลำน้ำปาวคงจะ ปลอกภัยกว่าเป็นแน่ เพราะตามลำน้ำชีนั้นมีหมู่บ้านตั้งอยู่ริมฝั่งมากมาย กลัวคนเห็นเมื่อขึ้นมาตามลำน้ำปาวแล้วได้เดินทางมาจนกระทั่งเกือบถึงตัว เมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ รู้สึกว่าการเคลื่อนตัวเองไปตามลำน้ำนั้น ลำบากมาก เพราะลำน้ำปาวแคบเข้าไปเรื่อยๆ และหมู่บ้านเริ่มหนาแน่นเข้ากลัวคน เห็น จึงได้ตัดลัดทางขึ้นเลิงบักดอก (คำว่าเลิงหมายถึงทุ่งน้ำที่กว้าง เมื่อถึงหน้าน้ำหลากน้ำจะเต็มไปทั่วท้อง ทุ่ง ในฤดูแล้งจะมีน้ำขังอยู่ตามแอ่งตามหนองและลำห้วยบ้างเล็กน้อยส่วนที่เป็น ทุ่งทั้งหมดจะแห้งจนดินแตกระแหง) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองจังหวัด กาฬสินธุ์ในปัจจุบัน แล้วเดินทางผ่านป่าเขาลำห้วยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เฉียงเหนือของเมืองกาฬสินธุ์ เพื่อหาที่ปลอดภัยสำหรับตนเอง ด้วยความทุกข์ แสนสาหัส



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature นิทานพื้นบ้าน
ตำนานพื้นบ้าน
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านท่าขอนยาง ต. ท่าขอนยาง อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม 44150

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2567 Opencall

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :15 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 23/09/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 23/09/2024