ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดเริ่มต้นเมื่อพ.ศ.2547 โดยการนำของนายอดิศร เหล่าสะพาน ที่ดำรงผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ได้ปรึกษาหารือกับลูกบ้านว่าทางชุมชนต้องการช่วยเหลือสังคมที่เป็นเช่นนี้เพราะชุมชนพบปัญหาในเรื่องของ ยาเสพติด การทะเลาะวิวาท เด็กแว๊น หนี้สินและที่สำคัญคือผู้คนในชุมชนไม่มีอาชีพ ดังนั้นจึงให้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งที่สร้างความรู้และทำให้เกิดรายได้ให้กับผู้คนชุมชน โดยได้ตั้งชื่อศูนย์แห่งนี้ว่า “สังคมแห่งการเรียนรู้ บ้านดอนมัน” สำหรับสิ่งที่ลงมือในศูนย์ฯ คือการเริ่มปลูกผักปลอดสารพิษ อยากให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้บริโภคผักที่สะอาดไม่มีสารเคมีเจือปน โดยให้ยึดหลักคิดที่ว่า “คนกินผักอะไรให้ปลูกผักชนิดนั้น” พ.ศ.2549 เป็นต้นมาทางกลุ่มได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากในหลวงรัชกาลที่ 9 เข้ามาพัฒนากลุ่มประกอบกับการเปิดชุมชนบ้านดอนมันเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรรมการขึ้นโดยมี นายอำเภอกันทรวิชัย หัวหน้าหน่วยงาน คณะกรรมการหมู่บ้าน และสถานศึกษา เข้ามาเป็นเครือข่ายในการทำงาน ต่อมาในพ.ศ2550-2556 เป็นช่วงที่กลุ่มได้ขยายกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น เช่น สอนอาชีพให้ผู้คนในการทำเกษตร เลี้ยงปลา ปลูกเห็ด ซึ่งผลผลิตที่ได้จากกลุ่มจะมีผู้คนจากภายนอกเข้ามารับซื้อเองถึงที่เป็นรายได้ของกลุ่ม ตลอดระยะนับตั้งพ.ศ.2556 -ปัจจุบัน ทางกลุ่มได้เพิ่มกลุ่มการเลี้ยงขุน ไก่งวง ทำให้เกิดรายได้ให้กับผู้คนชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งที่มีสามารถสร้างรายได้ ลดภาระหนี้สินของสมาชิกให้มีชีวติที่ดีขึ้นกว่าเดิม
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
.
เลขที่ : บ้านดอนมัน ต. ขามเรียง อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม 44150
นายอดิศร เหล่าสะพาน
095-1391657
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2567 Open call