การเกิดขึ้นของหอวัฒนธรรมลาวเวียง ณ วัดโบสถ์นั้น เกี่ยวข้องกับกับกระบวนการองค์กรชุมชน ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนมีส่วนในการสนับสนุน “แรงคิด” และได้รับความเห็นชอบของเจ้าอาวาสและชาวบ้าน จนได้คัดเลือกให้ศาลาการเปรียญหลังเดิม ภายในวัดโบสถ์นั้น ได้รับการแปลงสภาพเป็น “หอวัฒนธรรม” นอกจากนี้ ยังใช้ประโยชน์เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาหาความรู้ จากการสนับสนุนจัดตั้งพื้นที่เรียนรู้ในระดับชุมชนโดยความร่วมมือของอุทยานการเรียนรู้ จึงทำให้หอวัฒนธรรมลาวเวียงแห่งนี้ เป็นทั้งสถานที่ในการเก็บรักษาสิ่งแสดงอัตลักษณ์ลาวเวียงและแหล่งของการหาความรู้เพิ่มเติมในยุคที่มีความรู้นั้นเพิ่มเติมไม่หยุดหย่อน ทุกวันนี้ชาวลาวเวียงที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ลืมความเป็นคนลาวเวียง ในเรื่องภาษา วัฒนธรรมการแต่งกาย ทิ้งไว้เพียงแต่คนรุ่นปู่ รุ่นย่าต้องคอยเป็นเสมือนนาฬิกาที่คอยปลุกจิตสำนึกคอยเตือนไปวันๆ หากแม้นสิ้นปู่ย่ายังไม่รู้ว่า ลาวเวียงลูกหลานจะยังจำได้หรือเปล่า การอนุรักษ์วัฒนธรรม เริ่มต้นง่ายๆ โดยการปลูกฝังถ่ายทอดข้อมูลให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีการรณรงค์ให้มีการแต่งกายชุดประจำถิ่นอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวัน เพื่อให้คนลาวเวียงได้มีโอกาสชื่นชมและย้อนอดีตของตนเองและมีการบรรจุหลักสูตรวัฒนธรรมลาวเวียงให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น ลูกหลานได้ศึกษา เริ่มต้นที่โรงเรียนสู่ชุมชน จากเด็กส่งผ่านถึงผู้ปกครอง การฟื้นฟูวัฒนธรรมดังกล่าวได้มีการหารือในเวทีสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก ได้ข้อสรุปร่วมกันในการสร้างหอวัฒนธรรมลาวเวียงขึ้น เพื่อการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวชุมชน โดยมีพระครูโพธารามพิทักษ์ หรือชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า หลวงปู่เขียน เจ้าอาวาสวัดวัดโบสถ์เจ้าและคณะอำเภอโพธาราม ได้ยกศาลาการเปรียญซึ่งเป็นศาลาสถาปัตยกรรมของลาวเวียงให้ดำเนินการจัดทำหอวัฒนธรรมลาวเวียง
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
.
เลขที่ : 49/2 หมู่ 1, ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี, 70120 70120 ต. คลองตาคต อ. โพธาราม จ. ราชบุรี 70120
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง : 2567 Festival