จะมีการทำพิธีในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ในสมัยก่อนนั้นเจ้าของยุ้งข้าวจะเรียมของเซ่นไหว้ (ไก่, หมู, ข้าวหลาม, เหล้า, อ้อย, ข้าวต้ม, หมากพลู) และบายศรีไว้บนยุ้งข้าว หน้ากองข้าว และได้ทำการเชิญพราหมณ์มาทำพิธีบนยุ้ง แต่ในยุคปัจจุบันชาวบ้านจะเกี่ยวข้าว และนำนำต้นข้าวที่เกี่ยวและแห้งแล้วนั้นมาสร้างปราสาทข้าว ส่วนข้าวเปลือกนั้นชาวบ้านก็จะนำมาถวายที่วัดหนองกระดูกเนื้อ เพื่อทำเป็นกองข้าว พอถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ทางวัดจะเชิญหมอทำขวัญมาทำพิธีที่หน้าปราสาทรวงข้าว หลังจากหมอขวัญทำพิธีจบ เป็นอันเสร็จพิธีบุญคูนลาน หลังจากเสร็จพิธีนั้นข้าวที่อยู่บนยุ้ง สามารถนำไปสี หรือนำไปจำหน่ายได้เลย
จับต้องได้ : Tangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
.
เลขที่ : 1 หมู่ 6 ต. หนองนมวัว อ. ลาดยาว จ. นครสวรรค์ 60150
พระครูนิติสุตากร ดร.
082 176 4595
ยุวันดา สุทธิดี : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ : 2566 Festival