การประกอบพิธีการลากเรือพระ ประกอบด้วยวันที่ 1 เริ่มตั้งแต่ขึ้น 13 ค่ำ คณะกรรมการวัดเริ่มทำการหันหัวเรือพระออกจากโรงจอดเรือพระ วันที่ 2 เริ่มตั้งแต่ขึ้น 14 ค่ำ ปราชญ์ชาวบ้านผู้เป็นประธานพิธีได้อัญเชิญพระลากและร่วมเฉลิมฉลองด้วยการจุดประทัดและแห่ขบวนพระลาก หลังจากนั้นให้ชาวบ้านสรงน้ำและรับน้ำพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล และอัญเชิญพระลากไปยังอาคารประดิษฐานเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ สักการะ และทำบุญตักบาตรด้วยปัจจัย (ด้วยเงินหรือทอง) ภาคกลางคืนของวันที่ 2 มีกิจกรรมเฉลิมฉลองพระลากและเรือพระ โดยการจัดแสดงมโหรสพ (หนังตะลุงและวงดนตรีสากล) จนถึงเช้าตรู่ ส่วนวันที่ 3 ซึ่งตรงกับขึ้น 15 ค่ำ มีการเริ่มพิธีกรรมตั้งแต่เช้าตรู่ โดยการอัญเชิญพระลากออกจากศาลาโรงธรรมไปประดิษฐานยังบุษบกของเรือพระ หลังจากนั้นชาวบ้านร่วมกันลากพระลากเป็นปฐมฤกษ์ ระยะทางประมาณ 100 เมตร และชาวบ้านร่วมกันนำดอกไม้ เทียน ธูป มาปักสองข้างทางที่พระลากลากผ่าน หลังจากนั้นชาวบ้านได้ร่วมกันตักบาตรหน้าล้อ (การตักบาตรในขณะที่มีการแห่เรือพระ) เช่น ของสด กับข้าว ข้าวต้ม ลูกโยน ข้าวต้มมัดสามเหลี่ยม และประชาชนทยอยมานั่งบริเวณรอบ ๆ พระลาก เพื่อเตรียมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีพระสงฆ์รับข้าวสารอาหารแห้ง จากนั้นพระสงฆ์ให้พรและจบพิธีการทางศาสนา
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
.
เลขที่ : ต. ท่าดี อ. ลานสกา จ. นครศรีธรรมราช 80230
ปุน บรรเจิดเลิศ
ขวัญตา หนูปล้อง : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช : 2566 Festival