สำหรับหุ่นเปรตแต่ละตัวมีอากัปกิริยาที่แตกต่างกันตามแต่ละชนิดของกรรมที่กระทำ เช่น ตัวสูง ลิ้นห้อยยาว ตาโบ๋ มีหัวเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ บางตัวถูกทรมานด้วยอาวุธแหลมคมอย่างน่าหวาดเสียว เช่น อยู่ในกระทะทองแดง เป็นต้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างให้ความสนใจถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ก่อนทั้งหมดจะร่วมฟังธรรมจากพระสงฆ์ และร่วมสวดมนต์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลภายในศาลาอเนกประสงค์ สำหรับขั้นตอนการจัดทำหุ่นเปรตเริ่มจากการนำไม้ไผ่และลวดเหล็กขึ้นเป็นโครงตัวหุ่นเปรต และดัด ตัดแต่งให้ได้ทรวดทรง ก่อนจะนำสแลนเย็บด้วยด้ายเพื่อหุ้มโครงตัวเปรต ให้เป็นรูปร่างเค้า ทั้งส่วนหัว และส่วนแขน ซึ่งทำด้วยลวดเล็ก ไม้ไผ่ ขวดน้ำพลาสติก และวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาตัดแปลงเป็นดวงตา ลิ้น เส้นผม มาเสียบต่อกับส่วนลำตัว เพื่อต้องการให้คนเข้าไปอยู่ข้างในทำการเชิดหุ่นเปรต เหมือนหุ่นเปรตที่มีชีวิต เคลื่อนไหวได้ ซึ่งในวันแห่ขบวนพาเหรดเปรต บรรดาหุ่นเปรตเหล่านี้จะสร้างสีสันต์ สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมสองข้างถนนเป็นอย่างมาก ภูมิปัญญาการทำหุ่นเปรตในประเพณีสารทเดือนสิบเป็นศิลปะและภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวใต้ โดยการทำหุ่นเปรตมีจุดแข็งหลายประการที่สะท้อนถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของคนในชุมชน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น
.
เลขที่ : ต. ในเมือง อ. เมืองนครศรีธรรมราช จ. นครศรีธรรมราช 80000
ไพฑูรย์ อินทศิลา
ขวัญตา หนูปล้อง : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช : 2566 Festival