บ่อน้ำนี้ทั้งคนในชุมชนเองและผู้ที่ได้มาเยี่ยมเยียนต่างก็เชื่อว่าอัลเลาะห์พระผู้เป็นเจ้าในศาสนาอิสลามได้ประทานความศักดิ์สิทธิ์ให้ ดังนั้นผู้คนก็เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะผู้คนจะใช้บ่อน้ำดังกล่าวในการแก้บน เมื่อบรรลุสิ่งที่บนบานศาลกล่าวไว้ตามที่ได้หวัง จึงได้ทำการแก้บนกับพระองค์อัลเลาะห์ผ่านบ่อน้ำภายในมัสยิดโดยการใช้อาบ ดื่ม ชโลมร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความผูกพันกับชุมชนมาตั้งแต่อดีตกาล ชาวมุสลิมตำบลนาเคียนเกือบทั้งหมดจะมีความเชื่อในมัสยิดการาหมาด บ้านหัวทะเล หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “มัสยิดบ้านหัวทะเล" ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ในเรื่องราวของการมีวาจาสิทธิ์ของโต๊ะหวันเต๊ะห์ และอัลกรุอ่านที่เขียนด้วยมือที่หลายต่อหลายครั้งได้นําไปเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินคดีความของคนมุสลิม ไม่ว่าจะที่มัสยิดเอง หรือแม้กระทั่งศาลแขวงนครศรีธรรมราชก็เคย นําไปให้ผู้ที่เป็นความกัน ทูลเพื่อที่จะสาบานว่าจะไม่ พูดเท็จ เพราะไม่ว่า โต๊ะหวันเต๊ะห์จะพูดอะไรก็มักจะเป็นจริงเสมอ ตั้งแต่อดีตก็มักจะมีผู้คนทั้ง ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม มาขอพรและบนบานศาลกล่าวกันโดยจอผ่านความศักดิ์สิทธิ์ของท่านไปยังพระองค์อัลเลาะห์ผู้เป็นพระเจ้าหนึ่งเดียว มีผู้คนเป็นจำนวนมากจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่ได้มาทำการบนบานศาล กล่าว และเมื่อประสบความสำเร็จจากคําขอก็จะนําของมาทำบุญที่มัสยิด ส่วนมากจะทําอาหารมาเลี้ยง เช่น แกงแพะ ไก่ฆอและ หรือไม่ก็นําแพะมา บริจาคให้กับมัสยิด เป็นต้น
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature ตำนานพื้นบ้าน
.
เลขที่ : บ้านหัวทะเล ต. นาเคียน อ. เมืองนครศรีธรรมราช จ. นครศรีธรรมราช 80000
ขวัญตา หนูปล้อง : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช : 2566 Festival