มัสยิดการาหมาด บ้านหัวทะเล หมู่ที่ ๑ ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโบราณสถานที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช คนมุสลิมศรัทธาในมัสยิดและตัวผู้นำ ซึ่งเป็นมัสยิดที่เก่าแก่ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อิสลาม ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามและหรือศาสนาอื่น ๆ มีความประสงค์อยากได้อะไรก็จะมาขอกับโต๊ะการาหมาด และเมื่อได้ตามความประสงค์แล้วก็จะมาทำบุญที่มัสยิด คนที่ไม่สบายก็จะไปอาบน้ำที่บ่อน้ำของมัสยิด เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะหายและเป็นสิริมงคลกับชีวิต ผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขาย จะแวะไปเพื่อตักน้ำในบ่อน้ำของมัสยิดรดที่หัวรถหรือของที่จะขาย เพื่อทำให้ขายของดีหรือหมด จากการลงพื้นที่เพื่อเสาะแสวงหาข้อมูลได้พบว่า กว่าที่จะมาเป็นชุมชนบ้านหัวทะเลมาก่อนนั้น คนเดิม ๆ ที่นี้ได้กระจายตัวมาจากมัสยิดหลังแรกของเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งนั่นก็คือมัสยิดวัดคิดที่อยู่ใกล้กับวัด ศรีทวี ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลดํารงศาสน์ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากความคับ แคบของสถานที่ เพราะไม่สามารถที่จะขยายออกได้ และอีกอย่างสถานที่ดังกล่าวไม่มีพื้นที่ในการทํา เกษตรกรรม และอาชีพที่ตนเองถนัด จากการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่เลาะห์ ท่านเล่าว่า "คนแก่ๆ เล่ามานั้นว่า คนที่นี่ นั้น มาจากวัดคิดโน่น แล้วแตกมาอยู่ที่หัวทะเล แล้วก็ต่อมาก็คนหัวทะเลเองก็ได้แยกตัวออกไปอยู่ทั่วทุกหน ทุกแห่ง เพราะว่าที่นี่นั้น ทำเลที่ตั้งมันสวย และก็ที่วัดคิดนั้นพื้นที่มันคับแคบ อยู่กันอย่างแออัด ก็เลยขยับขยาย ที่อยู่ มาหาที่ใหม่ ก็เลยมาได้ทีบ้านหัวทะเล" แต่เดิมมัสยิดการาหมาดเป็นเพียงเรือนไม้เล็กๆ หรือเรียกกันว่าบาลาย ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ในการ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยโต๊ะหวันเต๊ะห์เป็นผู้บุกเบิก และสร้างบายลายนี้ขึ้นมาด้วยการช่วยเหลือของ คนในชุมชน โดยทุกคนรู้จักกันในชื่อว่า “บาลายโต๊ะหวั่นเต๊ะห์” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนอัลกรุอ่านและ ตาม แก่คนในชุมชนและบริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกันเป็นแห่งแรก ของชุมชนบ้านหัวทะเล มีอายุประมาณ ๕๐ ปี ลักษณะเด่นของบายลายก็คือ เสาขาลายทําด้วยต้นหลาโอน หรือหลาวชะโอน (โพนนิบง) ฝากั้นด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยจากสาคู ต่อมาได้สร้างมาลายหลังที่ ๒ ด้วยไม้เช่นเดิม แต่มุงหลังคาด้วยสังกะสี สร้างขึ้นในสมัยของโต๊ะอี หม่ามเหม เลิศวงหัส มีขนาดใหญ่กว่าเดิมนิดหนึ่ง ขนาดประมาณ 4 เมตร ยาวสักประมาณ ๑๐ เมตร เขา ทําเป็นสามี ไว้ด้านข้าง ถ้าเป็นตอนนี้ก็คือ บาลายลูกที่ ๒ น่าจะอยู่ด้านท้ายสุดของอาณาเขตบริเวณมัสยิด ใกล้ๆ กับที่ล้างเท้าก่อนขึ้นมัสยิด โดยมีปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของชุมชนเล่าว่า “บาลายเก่านั้นเป็นหลังคา สังกะสี ความยาวของบาลายกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวสักประมาณ ๑๐ เมตร เราจำได้ตอนนั้นเรายังเด็กๆ อยู่เลย เมื่อก่อนมัสยิดมีแค่ลูกเดียวเท่านั้นแหละ ไปละหมาดวันศุกร์ ละหมาดรายอก็อยู่ที่นั่นทีเดียว ทั้งหมด ทุกคนจะไปมัสยิดหัวทะเลกันหมดเลย ไม่ได้ใช้อิฐ แต่ยกขึ้นด้วยเสานี้แหละ ไม่ได้มีพื้นรอง เป็นเสาไม้กลม สูง สักประมาณพอสามารถลอดได้ ไม่สูง เท่าไหร่นัก” ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเมื่อสมัยก่อนนั้นบริเวณโดยรอบไม่มี มัสยิดเลย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านทุ่งจีน บ้านทุ่งโหนด นาเคียน ป่าไม้ และทวดทอง ทั้งหมดนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ ทางศาสนาจะเดินทางมาร่วมกันปฏิบัติศาสนากิจที่ชุมชนบ้านหัวทะเลกันทั้งหมดเลย ต่อมาได้ปรับปรุงจากเรือนไม้เล็กๆ เป็นมัสยิดที่ก่ออิฐถือปูน เป็นช่วงของการปรับปรุงจากบาลายเป็น มัสยิด หรือบางคนเรียกว่า มัสยิดลูกที่ ๓ และตั้งชื่อว่ามัสยิดการาหมาด นายบีดีน พยายาน อิหม่ามมัสยิดกา ราหมาดคนปัจจุบัน กล่าวว่า คําว่า “การาหมาด” นั้นน่าจะมาจากคําว่า “การามัต” ในภาษามลายู ซึ่งมี ความหมายว่า “ศักดิ์สิทธิ์” เนื่องจากในบริเวณมัสยิดนั้นมีบ่อน้ําที่ผู้คนเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะผู้คนใช้บ่อ น้ําดังกล่าวในการแก้บน เมื่อบรรลุผลในสิ่งที่บนบานศาลกล่าวตามที่หวังแล้ว จึงแก้บนกับบ่อน้ําภายในมัสยิด โดยการใช้อาบ ดื่ม ชโลมร่างกาย เป็นต้น จากบันทึกของนายบิดีน พยายาน อิหม่ามมัสยิดการาหมาด บ้านหัว ทะเลคนปัจจุบันบันทึกไว้ว่า มัสยิดการาหมาดนั้นได้รับการปรับปรุงพัฒนาจากเรือนไม้ ภายหลังที่มีการพัฒนา เรือนให้เป็นอาคารมัสยิดที่มั่นคงด้วยการก่ออิฐถือปูนนั้นได้ปรับปรุงพัฒนาสองครั้งด้วยกัน ครั้งแรกในสมัยที่ นายสมาน กายแก้ว ดํารงตําแหน่งเป็นอิหม่าม ท่านเห็นว่าประชากรภายในชุมชนมีจํานวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงคิดสร้างมัสยิดที่มีความคงทนจากเดิมที่เป็นเรือนไม้เล็กๆ ซึ่งมัสยิดมีพื้นที่ ๒๔๐ ตารางเมตร โดยมีนายอาหลี วัฒนารถ เป็นนายช่างใหญ่ในการก่อสร้างมัสยิด ซึ่งใช้ทุนในการสร้าง ๕๔๘ บาท มัสยิดดังกล่าวมีโดมสีเขียว ที่ทํามาจากสังกะสี ซึ่งถ้าเปรียบตําแหน่งของมัสยิด ณ เวลานี้ก็จะอยู่ตรงกลางสนามของบริเวณมัสยิด และบ่อ น้ําจะอยู่ทางทิศตะวันออกของมัสยิด, จากสายรายงานของผู้สั่ง “บอกว่า “มัสยิดลูกที่ ๓ นั้น มีคนเคยบอกว่า มิมบัร “นั้นได้ถูกนํามาจากบ้านวัดโท และกลองนั้นนํามาจากบ้านท่าเรือ (ภาษามาลายูเรียกว่า “เคอร์ นางอายอ Gendang Raya” ไว้สําหรับตีในช่วงก่อนการอาซาน หรือมีเหตุการณ์สําคัญๆ เพื่อบอกให้ทราบ) จากการสัมภาษณ์นายสุกรี ทรงอนงค์ ท่านเล่าว่า “การก่อสร้างมัสยิดนั้น ได้สร้างในลักษณะอาคารครึ่งไม้ ครึ่ง ปูน พื้นปูนยกสูง ๑ เมตร เสาปูน ๑ เมตรต่อด้วยไม้ ฝากันด้วยปูน ๑ เมตร ต่อด้วยไม้กระดาน หลังคามุงด้วย กระเบื้องสี่เหลี่ยม (กระเบื้องพอง)” ในสมัยก่อน การได้มาซึ่งสินทรัพย์ของมัสยิดแต่ละชิ้นแต่ละอันนั้น ได้รับ การช่วยเหลือจากหลายภาคส่วนหลายชุมชนด้วยกัน กว่าที่จะครบองค์ประกอบของการเป็นมัสยิดที่สมบูรณ์ แบบได้ แสดงถึงความสามัคคี ความมีพลัง ความตั้งใจที่จะให้มีการเรียนการสอนศาสนา และปฏิบัติศาสนกิจ ร่วมกัน มีเจตนาร่วมกัน มีการร่วมแรงร่วมใจที่จะเห็นความสําเร็จเกิดขึ้นกับชุมชนบ้านหัวทะเล โดยมีมัสยิด เป็นจุดยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนเดียวกัน และคนต่างชุมชน เข้าด้วยกันภายใต้คําว่า ศาสนาอิสลาม และ มีอุดมการณ์เดียวกันที่อยากจะเห็นเยาวชนของชุมชนในอนาคตภายภาคหน้าได้รับการเล่าเรียน สั่งสอนศาสนา ภายใต้สถานที่ที่ชื่อว่า “มัสยิด ต่อมาได้มีการปรับปรุงมัสยิดขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ ๔ เพราะสภาพของตัวอาคารเริ่มมีสภาพทรุดโทรมลง ในช่วงสมัยที่นายบิดีน พยายานขึ้นเป็นอิหม่ามมัสยิด และมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ซึ่งมัสยิดหลังนี้มีพื้นที่ โดยประมาณ ๖๓๐ ตารางเมตร มีความกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๕ เมตร โดยใช้ฤกษ์ในการวางเสาหลักเมื่อวัน อาทิตย์ ที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๕ น. และเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๗ ปี จากบันทึกของนั่งอ้วน ได้บอกไว้ว่า “มัสยิดการาหมาดหลังใหม่เริ่มยกเสาเอก วันอาทิตย์ ขึ้น หรือทางหมอตรงกับ ๑๑ ค่ํา ตรงกับวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น. เริ่มเทปูน ๐๙.๐๕ น. ฮิจเราะห์ศักราช ๑๔๒๐ เดือน ยามากุลเอาวาล ปีเถาะ ตอนนั้นอิหม่ามชื่อบิดีน พยายาน เริ่มละหมาดมัสยิด หลังใหม่ วันฮารีรายอ อิดิลฟิตรี โดยนายฮัจยีอาหลี มัชมมาก เป็นผู้นําละหมาด และเริ่มละหมาดวันศุกร์ เมื่อ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ ด้วยงบประมาณทั้งหมด 5,000,000 บาท ซึ่งบันทึกดังกล่าวสอดคล้องกับ ของอิหม่ามบินคนปัจจุบัน มัสยิดการาหมาดบ้านหัวทะเลหลังปัจจุบันศาสนสถานรวมจิตใจของคนชุมชนบ้านหัวทะเลทุกคน ปัจจุบันมัสยิดการาหมาด ตั้งอยู่ใจกลางชุมชนบ้านหัวทะเล ตําบลนาเคียน อําเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช
![]() |
เหตุการณ์ :
แต่เดิมมัสยิดการาหมาดเป็นเพียงเรือนไม้เล็กๆ หรือเรียกกันว่าบาลาย ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ในการ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยโต๊ะหวันเต๊ะห์เป็นผู้บุกเบิก และสร้างบายลายนี้ขึ้นมาด้วยการช่วยเหลือของ คนในชุมชน โดยทุกคนรู้จักกันในชื่อว่า “บาลายโต๊ะหวั่นเต๊ะห์” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนอัลกรุอ่านและ ตาม แก่คนในชุมชนและบริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกันเป็นแห่งแรก ของชุมชนบ้านหัวทะเล มีอายุประมาณ ๕๐ ปี ลักษณะเด่นของบายลายก็คือ เสาขาลายทําด้วยต้นหลาโอน หรือหลาวชะโอน (โพนนิบง) ฝากั้นด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยจากสาคู |
![]() |
เหตุการณ์ :
บาลายหลังที่ ๒ ด้วยไม้เช่นเดิม แต่มุงหลังคาด้วยสังกะสี สร้างขึ้นในสมัยของโต๊ะอี หม่ามเหม เลิศวงหัส มีขนาดใหญ่กว่าเดิมนิดหนึ่ง ขนาดประมาณ 4 เมตร ยาวสักประมาณ ๑๐ เมตร เขา ทําเป็นสามี ไว้ด้านข้าง ถ้าเป็นตอนนี้ก็คือ บาลายลูกที่ ๒ น่าจะอยู่ด้านท้ายสุดของอาณาเขตบริเวณมัสยิด ใกล้ๆ กับที่ล้างเท้าก่อนขึ้นมัสยิด โดยมีปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของชุมชนเล่าว่า “บาลายเก่านั้นเป็นหลังคา สังกะสี ความยาวของบาลายกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวสักประมาณ ๑๐ เมตร เราจำได้ตอนนั้นเรายังเด็กๆ อยู่เลย เมื่อก่อนมัสยิดมีแค่ลูกเดียวเท่านั้นแหละ ไปละหมาดวันศุกร์ ละหมาดรายอก็อยู่ที่นั่นทีเดียว ทั้งหมด ทุกคนจะไปมัสยิดหัวทะเลกันหมดเลย ไม่ได้ใช้อิฐ แต่ยกขึ้นด้วยเสานี้แหละ ไม่ได้มีพื้นรอง เป็นเสาไม้กลม สูง สักประมาณพอสามารถลอดได้ ไม่สูง เท่าไหร่นัก” ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเมื่อสมัยก่อนนั้นบริเวณโดยรอบไม่มี มัสยิดเลย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านทุ่งจีน บ้านทุ่งโหนด นาเคียน ป่าไม้ และทวดทอง ทั้งหมดนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ ทางศาสนาจะเดินทางมาร่วมกันปฏิบัติศาสนากิจที่ชุมชนบ้านหัวทะเลกันทั้งหมดเลย ต่อมาได้ปรับปรุงจากเรือนไม้เล็กๆ เป็นมัสยิดที่ก่ออิฐถือปูน เป็นช่วงของการปรับปรุงจากบาลายเป็น มัสยิด หรือบางคนเรียกว่า มัสยิดลูกที่ ๓ และตั้งชื่อว่ามัสยิดการาหมาด นายบีดีน พยายาน อิหม่ามมัสยิดกา
ราหมาดคนปัจจุบัน กล่าวว่า คําว่า “การาหมาด” นั้นน่าจะมาจากคําว่า “การามัต” ในภาษามลายู ซึ่งมี ความหมายว่า “ศักดิ์สิทธิ์” เนื่องจากในบริเวณมัสยิดนั้นมีบ่อน้ําที่ผู้คนเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะผู้คนใช้บ่อ น้ําดังกล่าวในการแก้บน เมื่อบรรลุผลในสิ่งที่บนบานศาลกล่าวตามที่หวังแล้ว จึงแก้บนกับบ่อน้ําภายในมัสยิด โดยการใช้อาบ ดื่ม ชโลมร่างกาย เป็นต้น จากบันทึกของนายบิดีน พยายาน อิหม่ามมัสยิดการาหมาด บ้านหัว ทะเลคนปัจจุบันบันทึกไว้ว่า มัสยิดการาหมาดนั้นได้รับการปรับปรุงพัฒนาจากเรือนไม้ ภายหลังที่มีการพัฒนา เรือนให้เป็นอาคารมัสยิดที่มั่นคงด้วยการก่ออิฐถือปูนนั้นได้ปรับปรุงพัฒนาสองครั้งด้วยกัน ครั้งแรกในสมัยที่ นายสมาน กายแก้ว ดํารงตําแหน่งเป็นอิหม่าม ท่านเห็นว่าประชากรภายในชุมชนมีจํานวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงคิดสร้างมัสยิดที่มีความคงทนจากเดิมที่เป็นเรือนไม้เล็กๆ ซึ่งมัสยิดมีพื้นที่ ๒๔๐ ตารางเมตร โดยมีนายอาหลี วัฒนารถ เป็นนายช่างใหญ่ในการก่อสร้างมัสยิด ซึ่งใช้ทุนในการสร้าง ๕๔๘ บาท มัสยิดดังกล่าวมีโดมสีเขียว ที่ทํามาจากสังกะสี ซึ่งถ้าเปรียบตําแหน่งของมัสยิด ณ เวลานี้ก็จะอยู่ตรงกลางสนามของบริเวณมัสยิด และบ่อ น้ําจะอยู่ทางทิศตะวันออกของมัสยิด |
![]() |
เหตุการณ์ :
มีคนเคยบอกว่า มิมบัร “นั้นได้ถูกนํามาจากบ้านวัดโท และกลองนั้นนํามาจากบ้านท่าเรือ (ภาษามาลายูเรียกว่า “เคอร์ นางอายอ Gendang Raya” ไว้สําหรับตีในช่วงก่อนการอาซาน หรือมีเหตุการณ์สําคัญๆ เพื่อบอกให้ทราบ) จากการสัมภาษณ์นายสุกรี ทรงอนงค์ ท่านเล่าว่า “การก่อสร้างมัสยิดนั้น ได้สร้างในลักษณะอาคารครึ่งไม้ ครึ่ง ปูน พื้นปูนยกสูง ๑ เมตร เสาปูน ๑ เมตรต่อด้วยไม้ ฝากันด้วยปูน ๑ เมตร ต่อด้วยไม้กระดาน หลังคามุงด้วย กระเบื้องสี่เหลี่ยม (กระเบื้องพอง)” ในสมัยก่อน การได้มาซึ่งสินทรัพย์ของมัสยิดแต่ละชิ้นแต่ละอันนั้น ได้รับ การช่วยเหลือจากหลายภาคส่วนหลายชุมชนด้วยกัน กว่าที่จะครบองค์ประกอบของการเป็นมัสยิดที่สมบูรณ์ แบบได้ แสดงถึงความสามัคคี ความมีพลัง ความตั้งใจที่จะให้มีการเรียนการสอนศาสนา และปฏิบัติศาสนกิจ ร่วมกัน มีเจตนาร่วมกัน มีการร่วมแรงร่วมใจที่จะเห็นความสําเร็จเกิดขึ้นกับชุมชนบ้านหัวทะเล โดยมีมัสยิด เป็นจุดยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนเดียวกัน และคนต่างชุมชน เข้าด้วยกันภายใต้คําว่า ศาสนาอิสลาม และ มีอุดมการณ์เดียวกันที่อยากจะเห็นเยาวชนของชุมชนในอนาคตภายภาคหน้าได้รับการเล่าเรียน สั่งสอนศาสนา ภายใต้สถานที่ที่ชื่อว่า “มัสยิดมัสยิดลูกที่ ๓ |
![]() |
เหตุการณ์ :
ต่อมาได้มีการปรับปรุงมัสยิดขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ ๔ เพราะสภาพของตัวอาคารเริ่มมีสภาพทรุดโทรมลง ในช่วงสมัยที่นายบิดีน พยายานขึ้นเป็นอิหม่ามมัสยิด และมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ซึ่งมัสยิดหลังนี้มีพื้นที่ โดยประมาณ ๖๓๐ ตารางเมตร มีความกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๕ เมตร โดยใช้ฤกษ์ในการวางเสาหลักเมื่อวัน อาทิตย์ ที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๕ น. และเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๗ ปี |
![]() |
เหตุการณ์ :
จากบันทึกของนั่งอ้วน ได้บอกไว้ว่า “มัสยิดการาหมาดหลังใหม่เริ่มยกเสาเอก วันอาทิตย์ ขึ้น หรือทางหมอตรงกับ ๑๑ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น. เริ่มเทปูน ๐๙.๐๕ น. ฮิจเราะห์ศักราช ๑๔๒๐ เดือน ยามากุลเอาวาล ปีเถาะ ตอนนั้นอิหม่ามชื่อบิดีน พยายาน เริ่มละหมาดมัสยิด หลังใหม่ วันฮารีรายอ อิดิลฟิตรี โดยนายฮัจยีอาหลี มัชมมาก เป็นผู้นําละหมาด และเริ่มละหมาดวันศุกร์ เมื่อ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ ด้วยงบประมาณทั้งหมด 5,000,000 บาท ซึ่งบันทึกดังกล่าวสอดคล้องกับ ของอิหม่ามบินคนปัจจุบัน
มัสยิดการาหมาดบ้านหัวทะเลหลังปัจจุบันศาสนสถานรวมจิตใจของคนชุมชนบ้านหัวทะเลทุกคน
ปัจจุบันมัสยิดการาหมาด ตั้งอยู่ใจกลางชุมชนบ้านหัวทะเล ตําบลนาเคียน อําเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช
|
![]() ![]() ![]() |
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
.
เลขที่ : บ้านหัวทะเล ต. นาเคียน อ. เมืองนครศรีธรรมราช จ. นครศรีธรรมราช 80000
ขวัญตา หนูปล้อง : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช : 2566 Festival