พ่อชาลี ศรีทาไกร เป็นปราชญ์ด้านการตีมีด ตีดาบ การขึ้นคมมีด ขึ้นคมดาบ จุดเริ่มต้นการตีดาบของชาลีมาจากการสืบทอดจากบิดาซึ่งเป็นปราชญ์ด้านการตีดาบ ตีมีดที่เป็นพ่อค้าเร่เพื่อไปตีมีดตีดาบตามความต้องการของชุมชน ซึ่งการเดินทางในอดีตต้องมีการเลือกพื้นที่ก่อน วันเพราะต้องมีการเตรียมการมากมายก่อนที่จะตีดาบหรือตีมีดได้ เนื่องจากต้องปั้นเตา และตั้งสูบลมเชื่อมต่อกับเตาให้เสร็จแล้วจึงประกาศรับเหล็กจากชาวบ้านมาตีเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง พ.ศ.2511 เดินทางมาที่บ้านโคกสายกับบิดาเพื่อมาตีมีดและได้อาศัยที่บ้านโคกสาย และสร้างครอบครัวที่บ้านโคกสายตั้งแต่นั้นมา แต่เมื่อมาอยู่ที่บ้านโคกสายก็มีการออกเร่เพื่อรับตีมีด ขึ้นคมมีดตามชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลเมืองเตาและพื้นที่ใกล้เคียง การเดินทางแต่ละครั้งไปครั้งละประมาณ 1 อาทิตย์จึงกลับเข้าบ้านครั้งหนึ่ง โดยการเดินทางแต่ละครั้งต้องเสร็จจากการทำนา การเดินทางแต่ละครั้งเดินเท้าหาบเอาสูบไปด้วยเพื่อไปตั้งเตาในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย แรกเริ่มตีดวงละ 30 บาท ปัจจุบันขึ้นคมมีดคิดราคาดวงละ 80 บาท พ่อชาลีเลิกตีมีดตั้งแต่อายุ 40 ปีเนื่องจากผู้ที่เดินทางไปตีมีดด้วยกันเสียชีวิตทำให้ไม่สามารถตีมีดได้เพราะการตีมีดคนหนึ่งสูบลมอีกคนต้องเอาเหล็กใส่ไฟแล้วตีขึ้นรูป ขั้นตอนการตีมีต้องอาศัยความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากการตั้งเตาตั้งที่พื้นดินต้องมีการย้ายพระแม่ธรณี วิธีการคือนำพาหวานเพื่อบูชาและขอทำการตั้งเตากับพระแม่ธรณี ถ้าหากไม่ทำจะทำให้เกิดอุปสรรคไฟกระเด็นเตาคว่ำ การตีดาบหรือตีมีดสั้นหรือยาวนั้นมีการนับฉโหลกหรือภาษาคนตีเรียกโสดดาบ มีดังนี้ 1.แหนแหแหนแห่ 2.ผูกตอกแต้คืนหลัง 3.สาวซังสาวว่า 4.เข้าป่าพายโซน 5.ขนของไปค้า 6.ขี่มาอ้อมเมียง 7.ถุงเหลียงฮัดไถ่ 8.กล่อมไล่นางนอน 9.ซื้อมาพรมาขี่ 10.แทนที่ของหลวง ซึ่งเริ่มนับจากด้ามขึ้นม้าเมื่อครบรอบก็เริ่มนับที่ 1 ใหม่
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องโลหะ
.
เลขที่ : บ้านโคกสาย ต. เมืองเตา อ. พยัคฆภูมิพิสัย จ. มหาสารคาม 44110
นายชาลี ศรีทาไกร
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : 2567 Festival