เป็นชุมชนตลาดที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการค้าขายของประชาชนที่สัญจรมาทางเรือ ซึ่งในอดีตจะไม่มีสะพานข้ามคลองท่าไข่ จึงเป็นพื้นที่ที่สำคัญของเทศบาลเมือง จากประวัติความเป็นมาเป็นตลาดโบราณที่มีอายุกว่า 100 ปี อาคารสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) โครงสร้างเดิมเป็นอาคารไม้ทรงสูง สถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ เนื่องด้วยชัยภูมิที่ตั้งอยู่บริเวณย่านการค้า มีท่าจอดเรือโดยสารและเรือขนส่งสินค้า ประกอบกับผู้คนที่อาศัยบริเวณนี้ ประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ด ไก่ ส่งผลให้มีพ่อค้าแม่ค้าต่างถิ่นเข้ามาซื้อขายไข่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อมีการแบ่งลักษณะการปกครองท้องที่ พื้นที่นี้จึงมีชื่อว่าตำบล “ท่าขึ้นไข่” และต่อมาเปลี่ยนเป็น “ตำบลท่าไข่” ตลาดแห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักในนาม “ตลาดท่าไข่” ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาในเชิงอนุรักษ์ทั้งด้านสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ โดยยังคงสภาพโครงสร้างเดิมไว้ พร้อมกับปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคภายในตลาด และพัฒนาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม จัดระเบียบร้านค้าให้มีความเหมาะสมให้มีมาตรฐาน รวมถึงการปรับภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณตลาด พร้อมมุมถ่ายรูป เช็คอินให้กับนักท่องเที่ยว ผ่านภาพวาดสตรีทอาร์ต (Street Art) ที่ถ่ายทอดเสน่ห์ของตลาดท่าไข่ที่มีอายุ 100 กว่าปี ด้วยฝีมือของอาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาทัศนศิลป์และมีเดียอาร์ต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : ถนนศุภกิจ ต. หน้าเมือง อ. เมืองฉะเชิงเทรา จ. ฉะเชิงเทรา 24000
รองผู้อำนวยการ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฉะเชิงเทรา
https://www.facebook.com/taladsubsinthakai/
นายสมศักดิ์ ทองแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ : 2566 Festival