PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : SP-70120-00068 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ประเพณีแห่นาค นั่งหงษ์
-

ประเพณีไทยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม ขนบประเพณีหรือสถาบัน และธรรมเนียมประเพณี ประเพณีม้าแห่นาคก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นจารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เนื่องจากประเพณีบวชพระเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม เพราะเมื่อชายใดที่อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องบวชเพื่อทดแทนคุณบิดา มารดา แต่หากผู้ชายคนนั้น ไม่บวชตามจารีตประเพณีที่สืบทอดต่อกันมานั้น ก็จะถูกถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น ว่าชายคนนั้น เป็นคนอกตัญญู เช่นเดียวกับความเชื่อที่ว่า ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือลูกอกตัญญูนั้นเอง (DMCTV, 2559) นาค เป็นคำใช้เรียกคนผู้ชายที่จะขออุปสมบท คือบวชเป็นพระภิกษุ ประเพณีไทยแต่โบราณนานมาแล้วไม่เรียกพิธีอุปสมบทว่าบวชคนให้เป็นพระ แต่เรียกบวชนาค (ให้เป็นพระ) ในพระวินัยของพระพุทธเจ้าไม่มีเรื่องบวชนาค (ให้เป็นพระ) ฉะนั้นพิธีบวชนาค จึงไม่มีในชมพูทวีป (คืออินเดียโบราณ) แต่เป็นประเพณีพื้นเมืองของภูมิภาคอุษาคเนย์ โดยเฉพาะบริเวณผืนแผ่นดินที่เป็นพม่า (มอญ) เขมร ลาว และไทย ประเพณีการแห่นาคขี่หงษ์ เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญของวัดโบสถ์และวัดบ้านเลือก แต่เดิมเมื่อมีการแห่นาคจากบ้านไปเข้าโบสถ์ที่วัด จะทำเป็นแคร่ไม้ไผ่ เหมือนอย่างประเทศลาวและภาคอีสาน แล้วให้นาคนั่งด้านบน โดยมีเพื่อนๆของนาคและคนหนุ่มๆเป็นผู้แบกและจะมีการขย่มแรงๆ เพื่อเป็นการทดสอบความตั้งใจว่าผู้บวชจะมีความตั้งมั่นและจริงจังในการบวชหรือไม่ต่อมาใน พ.ศ.2490 งานบวชของ นายมาส ทองกันยา เป็นงานแรกที่มีการขี่หงษ์ โดยได้เห็นตัวอย่างมาจาก อ.ท่ามะกา และได้ให้นายทุย โม่มาลา เป็นผู้ทำหงษ์ให้ โดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นโครงรูปหงษ์ แล้วใช้กระดาษติดทับด้านนอกแล้วใช้สีวาดเป็นลวดลายให้สวยงาม และผู้ที่สืบทอดการทำหงษ์ต่อจากนายทุยก็คือ นายทม ทองกันยา และ นายม้วน โม่มาลาแต่ก็มีงานบวชบางงาน ทำเป็นรูปไก่ฟ้า และสัตว์อื่นๆ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมเหมือนหงษ์ แต่เดิมจากที่ใช้ สีวาดลายที่ตัวหงษ์ ต่อมา อ.สมพงษ์ โสภา ได้สืบทอด และได้เปลี่ยนจากการวาดลาย มาเป็นการตัดกระดาษสีเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำมาติดซ้อน เป็นขนของหงษ์แทนการวาด เพื่อให้สวยงามยิ่งขึ้นการแห่นาคขี่หงษ์ เป็นอีกประเพณีหนึ่งของ วัดโบสถ์ ที่มีการสืบทอดกันมายาวนานถึง 77 ปี จึงควรที่จะอนุรักษ์ไว้ ปัจจุบันผู้ที่สืบทอดการทำหงษ์ก็คือ อ.คมกฤษ โสภา ข้อมูลอ้างอิง-อ.สมพงษ์ โสภา (สอบถามไว้เมื่อ 27 ธ.ค.2561)



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : หมู่ 9 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 ต. บ้านเลือก อ. โพธาราม จ. ราชบุรี 70120

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นายณัฐวุฒิ ทองอูบ

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

098-2733005

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง : 2567 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :99 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 22/10/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 09/12/2024