“ลูกหยี” ไม้ยืนต้นให้ผลรสเปรี้ยวจี๊ดที่คนสายบุรีและอีกหลายพื้นที่ในปัตตานีปลูกต่อเนื่องกันมายาวนานมากกว่า 100 ปี รสชาติยามกินสดหรือนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรุงอาหารให้ความชัดเจน ที่สำคัญ เมื่อลูกหยีได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ทั้งผลสดและแปรรูป ก็เหมือนกับว่า การปลูกพืชยืนต้นต่อเนื่องกันมาเป็นร้อยปีของคนปัตตานีจะเป็นมากกว่าพืชพื้นถิ่นที่พวกเขาใช้กินอยู่มากมายนัก ลูกหยีที่พวกเขาปลูกสืบทอดกันมานั้นมีกันสองสายพันธุ์ คือ พันธุ์ทวย หรือทวยงาช้าง และพันธุ์หยีธรรมดา ที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าหยีบ้าน ด้านในเปลือกบาง ๆ สีดำ เนื้อสีแดงส้มที่มีผิวสัมผัสหนายุ่ย คือรสเปรี้ยวอมหวานชื่นใจ และมีบ้างที่อมฝาดแบบพออร่อย เป็นเอกลักษณ์ คนสายบุรีคุ้นเคยการแปรรูปลูกหยีเป็นสินค้ามาร่วมร้อยปี อย่างที่ร้านนำแสงสายบุรี ที่ตกทอดมาสู่รุ่นที่ 2 ในยุคของนันทนาและฉัตรอรุณ จิรสิทธิ์ ในห้องแถวไม้ย่านตลาดเก่าคือผลิตภัณฑ์ลูกหยีแปรรูปได้หลากหลายอย่างน่าทึ่ง ทั้งลูกหยีกวน ลูกหยีฉาบ ลูกหยีทรงเครื่อง แกะเมล็ดคลุกเคล้าน้ำตาล เกลือ หรือผงบ๊วย ที่จริงๆ แล้วฉัตรอรุณบอกว่า จากแต่เดิมที่คนรุ่นพ่อแค่กวนขายเท่านั้น
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.
เลขที่ : ร้านนำแสงสายบุรี ต. ตะลุบัน อ. สายบุรี จ. ปัตตานี 94110
ฮัมดัม เตาะสาตู
hamdan9568@gmail.com
aruneewan : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : 2566 Advance Track