PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : SP-94000-00038 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

บุหงาซีเระ
Bunga Sireh

บุหงาซีเระ หมายถึง บายศรีประดิษฐ์แบบชาวไทยมุสลิมลักษณะหนึ่งโดยการนำดอกไม้สด ใบพลู มาประดิษฐ์ในลักษณะต่างๆให้สวยงามหลายรูปแบบ มีทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ บุหงา แปลตาม ภาษามาลายู หมายถึง ดอกไม้ ส่วน ซีเระ แปลตามภามาลายู หมายถึง พลู บรรพบุรุษของชาวไทยมุสลิมนั้นมีชื่อเสียงในงานศิลปะและงานประดิษฐ์อย่างมาก โดยเฉพาะการประดิษฐ์บุหงาซีเระเป็นที่ขึ้นชื่อมาแต่โบราณและเป็นที่นิยมจัดทำกันสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อจะจัดงานแทบทุกงานไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน พิธีขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย (เข้าสุหนัต) พิธีสู่ขอ พิธีรับขวัญเด็ก พิธีการจัดงานมหกรรมต่างๆ หรือขบวนแห่ตามประเพณีของชาวไทยมุสลิม มักจะใช้บายศรบุหงาซีเระมาประกอบในพิธีเหล่านี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าภาพ ถือเป็นสิ่งนำโชคและเพื่อความสวยงาม บางหมู่บ้านหรือบางตำบลก็จัดแข่งขัน การประดิษฐ์บุหงาซีเระขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะแห่งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ไม่ให้สูญหายและเป็นประเพณีสืบต่อกันมาช้านานของจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และ จังหวัดนราธิวาส ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ในงานประเพณีการแห่นก ขบวนบุหงาซีเระ (ขบวนบายศรี) มักเป็นขบวนหนึ่งที่ดึงดูดสายตาผู้ชมและนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นขบวนที่มีการตกแต่งอย่างสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยผู้ทูนพานบายศรีต้องเป็นสตรีที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นผู้ที่มีรูปร่างงดงาม สมส่วน แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงามหลากหลาย สีสันสดใสตามประเพณีท้องถิ่น พานที่ใส่บายศรี หรือที่เรียกว่า อาเนาะกาซอจะใช้พานทองเหลือง และนิยมใช้พานจำนวนคี่ คือ ๓, ๕, ๗ และ ๙ พาน ซึ่งใช้ในโอกาสแตกต่างกัน ดังนี้ บุหงาซีเระ ๓ ชั้น ใช้ในโอกาสไม่สำคัญมาก เช่น พิธีเข้าสุหนัต พิธีแต่งงาน พิธีสูขอ พิธีขึ้นเปลรับขวัญเด็ก พิธีที่ต้องใช้ถือเดินร่วมในขบวนแห่ต่างๆ บุหงาซีเระ ๕ ชั้น ใช้ในพิธีต้องตั้งอยู่กับที่ เช่น บนขบวนรถแห่ เพราะมีขนาดใหญ่ ตั้งประดับขบวนรถ ใช้ตอนรับแขกบ้านแขกเมือง ใช้ในพีการต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติ เช่น มหกรรมกินปลากะพง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประเพณีการแห่นก บุหงาซีเระ ๗ ชั้น ใช้ในพิธีที่จัดยิ่งใหญ่งานมหกรรมต่างๆ เช่น ประเพณีการแห่นก บุหงาซีเระ ๙ ชั้น จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : รามโกมุท ต. อาเนาะรู อ. เมืองปัตตานี จ. ปัตตานี 94000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นางสาวปิ่มกมล แสงอุบล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

aruneewan.n@psu.ac.th

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

aruneewan : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : 2566 Advance Track

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
vdo
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :45 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 27/10/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 27/10/2024