ดินแดนแห่งมลายูในยุคของ ๗ หัวเมืองใต้ ในอดีตหลังฤดูเก็บเกี่ยว เจ้าเมืองมลายูแต่ละหัวเมือง จะมีพิธีกรรมขึ้นว่าวเบอร์มะห์ (Bermah) หรือเบอร์อามัน (Beramas) หรือในภาษามลายูกลางเรียกว่า “ว่าวเบอร์อือมัส” (Beremas) เมื่อขึ้นว่าวเบอร์อามัสแล้ว ราษฎรจึงจะเล่นว่าวได้ และก่อนที่เจ้าเมืองจะขึ้นว่าวเบอร์อามัสนั้น เจ้าเมืองต้องทำพิธีปิดทองที่หัวว่าวก่อน จึงเป็นที่มาของว่าวเบอร์อามัส เพราะคำว่า “อามัส” หรือ อือมัส แปลว่า “ทอง” นั่นเอง การขึ้นว่าวเบอร์อามัสมีเป้าประสงค์สำหรับทำนายหรือพยากรณ์ ดิน ฟ้า อากาศ สำหรับการทำนา หรือการเกษตรอื่นๆ ในปีหน้าว่าจะเป็นเช่นไร ผู้รู้จะทำหน้าที่ทำนายโดยสังเกตจากสายลม นำข้อมูลที่ได้จากการทำนายมากำหนดตารางการทำนา ว่าควรปักดำหรือไถในเวลาไหนจึงเหมาะสมที่สุด ผู้ที่จะสร้างสรรค์ว่าวเบอร์อามัสได้นั้นต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญมากกว่าว่าวชนิดอื่นๆ เพราะต้องใช้ไม้ไผ่ขึ้นโครงมากถึง ๒๐–๒๙ ซี่ ส่วนรูปลวดลายในว่าวนั้นจะใช้พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นใบพลู ใบไม้สีทอง ดอกชบา
จับต้องได้ : Tangible.
กีฬาภูมิปัญญาไทย : SM : Folk Sport game and Martial arts การเล่นพื้นบ้าน
.
เลขที่ : ตะลุบัน สายบุรี ปัตตานี ต. ตะลุบัน อ. สายบุรี จ. ปัตตานี 94110
ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว
aruneewan.n@psu.ac.th
aruneewan : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : 2566 Advance Track