ชุมชนปะเสยะวอเป็นหมู่บ้านแห่งช่างศิลป์ ในการต่อเรือกอและ ด้วยฝีมือประณีตงดงามสอดประสานศิลปะไทยและมุสลิมได้อย่างกลมกลืน นายอับดุลเลาะห์ บูละ เล่าว่า ตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อบรรพบุรุษของตนได้ทำเรือกอและขายเป็นอาชีพ ทำให้ตนเองเรียนรู้มาตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 18 ปีจึงสามารถทำเรือกอและได้ด้วยตนเองนับถึงปัจจุบันก็ทำมาแล้วกว่า 40 ซึ่งการทำเรือต้องใช้ไม้ตะเคียนเพื่อความทนทานและแข็งแรงส่วนเรือกอและจำลองต้องใช้ต้นไม้โม่ ใช้ระยะเวลาการทำ 2 เดือนจึงเสร็จและทำเรือหางตัดต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือนในการทำซึ่งต้องทำพิธีไหว้ครูก่อนทำเรือหางตัด ร่วมถึงการออกแบบลวดลายซึ่งการออกแบบลวดลายทำตามจิตนาการของตนเอง คนส่วนใหญ่ที่มาสั่งทำเรือเพราะมีคนบอกปากต่อปากจนเป็นที่รู้จัก นายอับดุลเลาะห์ ได้บอกอีกว่า จุดเริ่มต้นของเรือหางตัดมาจากตำบลปะเสยะวอในการออกแบบในเรืองของการออกแบบ จะทนทาน เพราะสมัยก่อนอาชีพหลักของคนในหมู่บ้านจะทำเรือกอและประมาณ 42 คนทำเรือกอและซึ่งในช่วงนั้นไม้หายากและต้องใช้ไม้ประมาณ 12 เมตร ในการทำเรือกอและจึงหันมาทำเรือหางตัด หาไม้ตะเคียนทองบ้านบริเวณหมู่บ้านมาทำจนเป็นที่รู้จัก ซึ่งแต่เดิมที่ทำเรือกอและมีหัวทั้งสองข้างทำให้บรรจุของได้น้อยจึงหันมานิยมทำเรือหางตัดเนื่องจากบรรจุของได้มากกว่า หลังจากทำเรือเสร็จสมบูรณ์ได้มีการทำพิธีละหมาดเพื่อเพิ่มความบารอกัต (ขอความสันติสุข ความเอ็นดู เมตตาและสิริมงคลทรงประสบแก่ท่าน) จากนั้นได้มีการขอความร่วมมือของคนในหมู่บ้านประมาณ 40 คน มาลากเรือสู่แม่น้ำเพื่อส่งให้กับเจ้าของเรือ ซึ่งตนได้เลี้ยงกินน้ำชาแทนคำขอบคุณ นายอานูซี บูละ เล่าว่า เมื่อพ.ศ. 2018 จังหวัดนราธิวาสพร้อมกันจัดการแข่งขันเรือกอและ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในราชการที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินยังจังหวัดนราธิวาส เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจทุกปีได้จัดแข่งหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณปากแม่น้ำบางนรา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พ่อและตนเองก็ได้ไปแข่งขันเรือกอและ ณ พลับพลาที่ประทับหาดนราทัศน์ได้รับรางวัลที่ 3 ถือเป็นความประทับใจมิรู้ลืม
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น
.
เลขที่ : ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี ต. ปะเสยะวอ อ. สายบุรี จ. ปัตตานี 94110
ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว
aruneewan.n@psu.ac.th
aruneewan : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : 2566 Advance Track