“กาหลอ” เป็นดนตรีพื้นเมืองประเภทเครื่องประโคมที่มีความเก่าแก่ในวัฒนธรรมพื้นที่ภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมลายูตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 13 ที่ผ่านมาในอดีตชาวมลายูมักจะใช้ดนตรีกาหลอบรรเลงประโคมในงานศพเพื่อแสดงความเคารพวิญญาณผู้เสียชีวิตและเป็นการสื่อสารข่าวการเสียชีวิตแก่ญาติมิตรไปพร้อมกัน คำว่า "กาหลอ" มาจากสำเนียงมลายูซึ่งเป็นคำว่า "กาลา" ที่แปลว่าพระอิศวรหรือพระกาฬเทพแห่งความบันเทิงและความอวสานยังสอดคล้องกับภาษาชวาที่เรียกว่า "ภัทรกาล" หรือวรรณคดีเรื่องอิเหนา "ปะตาระกาหลา" มีการสันนิษฐานเพิ่มเติมว่าคำว่า "กาหลอ" อาจเป็นการรวมคำระหว่าง "กา" (อีกา) กับ "หลอ" (ลื่นหลุดจากที่จับ) หมายถึงความเพลิดเพลินที่เกิดจากการฟังดนตรีได้อีกวิธีคิดหนึ่งเช่นกัน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts นาฏศิลป์และการละคร
.
เลขที่ : บ้านควนโนรี ต. ควนโนรี อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี 94180
ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว
aruneewan.n@psu.ac.th
aruneewan : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : 2566 Advance Track