หอเจ้าเมือง เจ้าพ่อเมืองแข่ ตำนานกล่าวว่า ในอดีต มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงส่วยคำ เป็นชาวไตจีนฮ่อคนไตเรียกชาวจีนว่า "เข่” หรือ "เข่ไตโหลง" หรือ"เขไตเหนือ" ลุงส่วยคำได้เดินทางมาจากรัฐฉานตอนเหนือ มาปักหลักทำ มาหากินอยู่ในเมืองแม่ฮ่องสอนโดยปลูกบ้านอยู่บริเวณริมฝั่งห้วยน้ำปุ๊ติดกับสะพานขัวแดง ตอนหลังได้ย้ายมาอยู่บริเวณบ้านแม่เฒ่าลา ป็อกขัวแดง ในปัจจุบัน ลุงส่วยคำมีกรรยาชื่อ ป้ากันโหล่ง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ จายเล็ก(เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์) ลุงส่วยคำมีอาชีพเป็นสล่า (หมอไสยศาสตร์และหมอสมุนไพร) มีอาชีพในการไปรักษาเยียวยาชาวบ้าน ยามว่างก็จะตีมีดตีเหล็กการายได้เสริม ที่บริเวณบ้านของลุงส่วยคำเยื้องมาทางด้านทิศเหนือ (บริเวณศาลเจ้าพ่อเมืองแข่ในปัจจุบัน) ลุงส่วยคำได้สร้าง"เข่งครู"หรือหอครู ไว้หนึ่งหลัง และจะไม่ให้ใครตัดไม้บริเวณนั้นเป็นอันขาด เวลาจะออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปรักษาชาวบ้าน ก็จะทำการจุดเทียนบูชาเข่งครูเสียก่อน ทุกครั้งไป ด้วยความศรัทธา เมื่อชาวบ้านมีปัญหาของหาย สัตว์เลี้ยงหาย หรือเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรัง ก็จะขอให้ ลุงส่วยคำบนบานต่อเข่งครู ขอให้ช่วยเหลือ พอได้สิ่งของหรือสัตว์เลี้ยงกลับคืนมา หรือหายจากการเจ็บป่วย ชาวบ้านเหล่านั้นก็จะมาเลี้ยงแก้บนที่เข่งครูตามที่ให้บนบานไว้ ต่อมามีผู้คนศรัทธาเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นตามสำคับ หลังจากลุงส่วยคำ เสียชีวิต ป้ากันโหย่งก็ได้ทำหน้าที่เป็นสล่าแทนลุงส่วยคำ หลังจาก ป้ากันโหย่งเสียชีวิตลง ชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างเข่งครูขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า "หอ" หรือศาลเจ้ายกย่องขึ้นเป็นศาลเจ้ามือง เรียกว่า "เจ้าเมืองเข่" ต่อมาเพี้ยนเป็น “แข่”
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : หอเจ้าเมือง เจ้าพ่อเมืองแข่ ต. จองคำ อ. เมืองแม่ฮ่องสอน จ. แม่ฮ่องสอน 58000
คุณประเสริฐ ประดิษฐ์
ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ : 2566 Festival