พระวิหารหลวง วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งเป็นอาคารขนาดใหญ่ขนาด 5 ห้องเสา กว้างประมาณ 14.60 เมตร ยาว 32.30 เมตร มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง เสาประธานคู่ในกลม รับโครงสร้างที่เป็นเครื่องประดุถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาและผนัง รูปแบบสถาปัตยกรรมมีลักษณะผสมผสานระหว่างล้านนาและอยุธยา มุขหน้าและหนังเป็นหลังคาจั่วเตี้ย ทิ้งเชิงกอนลงมาในระดับต่ำแบบวิหารล้านนา แต่งานศิลปกรรมอื่น ๆ มีลักษณะแบบสกุลช่างทางภาคกลาง พื้นวิหารมีการยกขึ้นจากระดับพื้นเล็กน้อย ส่วนบัวพื้นตกแต่งเป็นบัวคว่ำ ผนังก่ออิฐโบราณขนาดใหญ่ ส่วนเสามีทั้งกลมและเหลี่ยม ผนังมีลักษณะเป็นเสาอิงรับโครงสร้างหลังคา ไม่มีทวยระหว่างช่องหน้าต่าง เป็นบานเปิดหูช้าง ฝาผนังหุ้มหองด้านหน้าก่อเป็นเสาอิงสี่เหลี่ยมตรงกับแนวเสาประธานคู่ใน เว้นช่องประตูกลางบานใหญ่ บานประตูเป็นบานหูช้าง มีอกเลา บานประตูทางเข้าทางด้านนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองภาพพระนารายณ์ 4 กร ฝาผนังหุ้มกลองหลังพระประธานทำประตูออกที่ผนังปีกนก 2 ข้าง มีการซ้อนชั้นหลังคา 3 ชั้น ลดชั้นตรงมุขหน้าและมุขหลัง จั่วของมุขหน้าและมุขหลังจะมีแนวสันหลังคาจรดขื่โทหน้าบันชั้นบน ตีฝ้าเพดาน และด้านในพระวิหารหลวง มีภาพวาดตํานานเรื่องพระสังข์ทอง ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงสถานที่ศักดิ์สืทธิ์ คือ เวียงเจ้าเงาะ และบ่อน้ำทิพย์ ที่อยู่เยื้องไปทางใต้ตรงกันข้ามกับตัววัด ที่ตัวพระวิหารหลวงมีประตูด้านหลังสามารถเดินทะลุออกไปที่ องค์พระบรมธาตุเจดีย์พระอุโบสถ ประดิษฐานอยู่ด้านซ้ายของพระวิหารหลวง เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบสุโขทัย คือ มีทรง หลังคาซ้อนสามชั้น ลาดต่ําลงมา และไม่มีประตูออกด้านหลังของพระอุโบสถ หลวงพ่อประธานเฒ่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัย เป็นที่เคารพและศรัทธา ชาวอุตรดิตถ์นับถือ กันมาก ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site ย่านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
ย่านโบราณคดี
.
เลขที่ : ทุ่งยั้ง ต. ทุ่งยั้ง อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ 53210
นายนิยมพร นพศรี
โทร 081-4743972
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ : 2567 Festival