เมื่อประมาณ พ.ศ.2428 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 “ชาวโคราช” สันนิษฐานได้ว่าเคลื่อนย้ายมาจากตำบลจอหอ ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 15 วัน เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเมืองกันทรวิชัย จุดที่ตั้งชุมชนของไทโคราช คือ บ้านโคกพระ ตั้งบ้านเรือนอยู่ประมาณ 10-20 หลังคาเรือน วิถีชีวิตของไทโคราช ในอดีตจะผูกพันกับการหาของป่า พึ่งพาทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น การใช้น้ำจากหนองบัวในการอุปโภค-บริโภค และเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลา เกลือ ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน บางคนมีพื้นที่ในการทำนา นอกจากการพึ่งพาทรัพยากรทางธรรมชาติในการดำชีพยังดำรงชีพด้วยการปั้นหม้อและเป็นนายฮ้อย เช่นพ่อเปลี่ยน แก้วจันทา เคยเป็นนายฮ้อย ที่พาผู้คนนำสินค้าจำพวก ข้าว พริก ปลาแดก วัว/ควายและหมูบรรทุกใส่เกวียน 7-8 ลำ ไปค้าขายยังเมืองโคราช เมื่อค้าขายเสร็จสิ้นจึงจะซื้อสินค้าจากเมืองโคราชกลับมาค้าขายที่เมืองกันทรวิชัย เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปวิถีชีวิตของชาวไทโคราช เช่น กลุ่มปั้นหม้อ นายฮ้อย ได้หายหมดไปในชุมชน ผู้คนปรับตัวเข้าสู่สังคมทุนนิยม เป็นผู้ประกอบการ รับราชการ คนรุ่นใหม่แทบจะไม่มีความผู้พันในตัวตนของตนเองในฐานะความเป็นไทโคราช แม้ว่าด้านศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทโคราช คือรำโทน ที่ยังมีแม่ครู เทียน ทองชำนิ และแม่ครูเมียน ทองชำนิ ที่สามารถถ่ายทอดทักษะการรำโทนให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทโคราช ต่อไป
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.
เลขที่ : บ้านโคกพระ ต. โคกพระ อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม 44150
นางนิ่ม บำรุง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2567 Open call