พระเจ้าใหญ่อูบมุง (พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น)เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แรกพบเมื่อประมาณ ๒๐๐ กว่าปีมานี้เอง ความเป็นมาในดินแดนแห่งนี้แต่ก่อนยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๙ มีเท้าศรีจันทร์ ศรีสุราชเป็นชาวอำเภอเขมราฐได้อพยพมาพร้อมกับพรรคพวกจำนวนหนึ่งมาตั้งแหล่งทำมาหากินในบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอูบมุงแห่งนี้ และในครั้งนั้นมีการค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้อยู่ในป่ารกชัฏประดิษฐานอยู่ในวัดร้างเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก และมีอูบมุงก่อด้วยอิฐครอบองค์พระเอาไว้ ส่วนองค์พระมีปลวกขึ้นพอกจนถึงพระอุระและเรียกว่า อูบมุง ซึ่งสันนิฐานว่าคงจะมาจากคำว่า สถูป หรือ อูบ จึงได้พากันเรียกว่าพระอูบมุง หรือพระเจ้าใหญ่อูบมุงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและท้าวศรีจันทร์ ศรีสุราช พร้อมด้วยคณะได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นมาชื่อว่า บ้านอูบมุง โดยเรียกตามชื่อพระพุทธรูปที่ค้นพบสืบมาจนทุกวันนี้ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๔ สมัยพระอธิการลี หรือพระครูโกวิทเขมคุณเป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบล ในสมัยนั้นได้มีการประชุมพิจารณาที่จะสร้างวิหารพระเจ้าใหญ่อูบมุงขึ้นใหม่ โดยมีพระครูวรกิจโกวิท เจ้าคณะอำเภอเขมราฐ เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นพร้อมให้สร้างขึ้นซึ่งมีขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร หลังปัจจุบันโดยมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและงบประมาณในการจัดงานบุญประจำปี และงบประมาณบางส่วนทางราชการได้สนับสนุนอุดหนุนจนแล้วเสร็จ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณล้านเศษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ทำการรื้ออุโมงค์หลังเก่าออก แล้วเปลี่ยนเป็นรูปฉัตรครององค์พระไว้และยกแท่นใหม่ค่าก่อสร้างในครั้งนั้น จำนวน ๑๕.๐๐๐ บาท
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
.
เลขที่ : บ้านอูบมุง ต. เขมราฐ อ. เขมราฐ จ. อุบลราชธานี 34170
ดร. วศิน โกมุท : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี :