PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-44150-00025 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ภูมิปัญญาการปั้นหม้อ
The wisdom of pottering

ภูมิปัญญาการปั้นหม้อ เป็นวัฒนธรรมที่มาพร้อมกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทโคราช ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองกันทรวิชัย ตั้งแต่ พ.ศ.2428 ซึ่งการปั้นหม้อ คืออาชีพหนึ่งที่สร้างสถานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ให้กับชาวไทโคราชที่เดินทางไปค้าขายยังพื้นที่ภายในเมืองกันทรวิชัย ชุมชนรอบๆ เมืองกันทรวิชัย ในช่วงประมาณราว ทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา จากคำบอกเล่าของ นางนิ่ม บำรุง ช่างปั้นหม้อรุ่นสุดท้ายของชุมชนโคกพระ ได้กล่าวไว่ว่า กว่าจะผลิตหม้อ ได้แต่ละประเภท ขนาดต่างๆ ลวดลาย ตามที่ต้องการ สิ่งที่สำคัญอย่างมาก คือ การเลือกดิน เป็นวัตถุดิบหลักของการปั้นหม้อ ตนและสามี ต้องเดินทางจากชุมชนโคกพระ ตั้งแต่เช้ามืดไปยังชุมชนบ้านดอนยูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อขอซื้อ ดินดำ และนำดินดำใส่รถเข็นกลับมายังบ้านของตนเอง ในช่วงเวลาเย็น นอกจากแหล่งดินที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังต้องไปนำดินจากหนองโพธิ์ ในเขตเมืองกันทรวิชัย เพื่อมาเป็นก้อนเชื้อผสมแกลบ สำหรับการปั้นหม้อและนำภาชนะหม้อเหล่านี้นำไปเร่ขายหรือแลกเปลี่ยนสิ่ง สำหรับฤดูกาลที่ปั้นหม้อ ของไทโคราชนิยมผลิตหม้ออยู่ 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน และ ฤดูหนาว ไม่ปั้นหม้อ ในช่วงฤดูฝน กาลเวลาได้ล่วงเลยเข้าสู่ในช่วง ทศวรรษ 2530 อาชีพการปั้นหม้อ ผลิตเพื่อการค้าขายได้สูญหายไปกับชุมชน สาเหตุที่สูญหายไปนั้นเกิดการความนิยมในการใช้หม้อลดน้อยลง แหล่งดินที่เคยซื้อถูกถม และสุดท้าย ผู้ผลิต/ช่างปั้นหม้อสูงอายุ บรรดาลูกหลานจึงขอร้องให้เลิกอาชีพนี้



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องปั้นดินเผา
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านโคกพระ ต. โคกพระ อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม 44150

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นางนิ่ม บำรุง

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2567 Open call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :35 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 13/11/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 13/11/2024