PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : PA-17110-00003 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

เพลงทรงเครื่องคณะนารีเฉลิมเนตร
Song Khrueang of the Naree Chaloemnet troupe

เพลงทรงเครื่องคณะนารีเฉลิมเนตร เป็นคณะนักแสดงที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งของชาวอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยผู้นำมาเผยแพร่คนแรกคือ คุณยายถนอม พุ่มรอด ท่านเกิดปี พ.ศ.2433 (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยกำเนิดท่านเป็นบุตรสาวของคุณพ่อแป้น คุณแม่เพลา พุ่มรอด ในสมัยเด็ก ๆ คุณยายถนอมมักจะติดตามบิดามารดาไปเที่ยวงานวัดในเทศกาลหรืองานรื่นเริงต่างๆ เช่น งานทอดกฐิน งานผ้าป่า ออกพรรษาสงกรานต์ ซึ่งในแถบจังหวัดชัยนาท และอำเภอมโนรมย์มักนิยมร้องเล่นเพลงเรือกันมาก คุณยายถนอมจึงชอบไปดูการแสดงเพลงเรือ เพลงดังกล่าว ประกอบกับท่านเป็นคนที่มีความจำเป็นเลิศทั้งที่ไม่ได้เรียนหนังสือ สามารถจดจำกลอนเพลงเรือมาขับร้องเล่นเป็นประจำ ประมาณ ปี พ.ศ.2478 คุณยายถนอมได้คิดดัดแปลงจากเพลงตัวเปล่าที่เคยเล่น มาสู่การร้องที่เป็นเรื่องราวและเรียกว่าเพลงทรงเครื่อง ด้วยการแต่งกายตามแบบของละคร ผูกกลอนเป็นกลอนไลหรือเรียกว่าเพลงไล โดยนำเรื่องราวจากนิทานพื้นบ้านมาแต่งเป็นคำร้องแบบกลอนพื้นบ้าน เช่น เรื่องพระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน (นิยมแสดงเป็นตอน) แก้วหน้าม้า สังข์ทอง โกมินทร์ เป็นต้น มีการขึ้นฉากแบบลิเก ส่วนผู้แสดงในยุคแรกที่คุณยายถนอมท่านฝึกหัดนั้นเป็นผู้หญิงล้วน คุณยายถนอมจึงตั้งชื่อคณะว่า “เนตรนารี” คุณยายถนอม ได้ฝึกลูกศิษย์ให้แสดงเพลงทรงเครื่องมาจนถึงรุ่นที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2480 ซึ่งมีบุตรสาวของท่านคือนางสนาน พุ่มน้อย ฝึกหัดแสดงด้วย นางสนานเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากมารดาด้านการแสดงเพลงทรงเครื่อง โดยฝึกหัดมาตั้งแต่อายุ 6 ปี เริ่มแสดงเป็นตัวเด่น ๆ ราวอายุ 19 ปี จึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของคณะ เมื่อคุณยายถนอมอายุมากขึ้น นางสนาน บุตรสาวจึงสืบสานการแสดงเพลงทรงเครื่องต่อมาและได้เปลี่ยนชื่อคณะเพลงจากชื่อที่เรียกคณะว่า “เพลงทรงเครื่องมโนรมย์” เป็น “คณะนารีเฉลิมเนตร” และใช้ชื่อนี้มาตลอดและโด่งดังที่สุดจนถึงปี พ.ศ. 2515 ในย่านของอำเภอมโนรมย์ สามารถเล่นชนะการประชันกับคณะลิเกทุกคณะ


เส้นเวลา (Timeline)
พ.ศ. 2478 - 2546 ....

           เหตุการณ์ :   ในปีพ.ศ.2478 เดิมคณะมีชื่อว่า “เนตรนารี” มีการร้องที่เป็นเรื่องราวและเรียกว่าเพลงทรงเครื่อง ด้วยการแต่งกายตามแบบของละคร ผูกกลอนเป็นกลอนไลหรือเรียกว่าเพลงไล โดยนำเรื่องราวจากนิทานพื้นบ้านมาแต่งเป็นคำร้องแบบกลอนพื้นบ้าน เช่น เรื่องพระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน (นิยมแสดงเป็นตอน) แก้วหน้าม้า สังข์ทอง โกมินทร์ เป็นต้น มีการขึ้นฉากแบบลิเก ส่วนผู้แสดงในยุคแรกนั้นเป็นผู้หญิงล้วน จึงเป้นที่มาของชื่อคณะ
           ผลกระทบ :   ในปีพ.ศ.2480 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเพลงจากชื่อที่เรียกคณะว่า “เพลงทรงเครื่องมโนรมย์” เป็น “คณะนารีเฉลิมเนตร” และใช้ชื่อนี้มาตลอดและโด่งดังที่สุดจนถึงปี พ.ศ. 2515 ในย่านของอำเภอมโนรมย์ สามารถเล่นชนะการประชันกับคณะลิเกทุกคณะ

     

 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts นาฏศิลป์และการละคร
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : หมู่4 ต. คุ้งสำเภา อ. มโนรมย์ จ. ชัยนาท 17110

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

คุณ อุษา กวางประเสริฐ

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

0812812591

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

Pisarn : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม : 2566 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
Link ที่เกี่ยวข้อง
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :74 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 23/11/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 23/11/2024


BESbswy