PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : CS-44110-00005 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

หนองส้มโฮง
nongsomhong

บริเวณพื้นที่บ้านเมืองเตาก่อนเซียงสี(หรือเจ้าพ่อศรีนครเตา)เดินทางเข้ามาอยู่เดิมชื่อบ้านกุดหวานเป็นภาษาเขมร กุดแปลว่า หนองน้ำ และหวายแปลว่ามะม่วง และเชื่อกันว่าเป็นพื้นที่ที่เขมรอยู่มาก่อน ต่อมาเซียงสีเดินทางมาเมื่อเข้ามาตั้งบ้านเมืองจึงทำการขุดสระรอบหมู่บ้านเพื่อป้องกันข้าศึก จึงเป็นที่มาของหนองน้ำต่างๆรอบหมู่บ้าน สระเหล่านี้ในอดีตชาวบ้านและสัตว์เลี้ยงต่างๆได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเป็นแหล่งอาหารสำคัญของหมู่บ้าน ชาวบ้านได้อาศัยจับสัตว์น้ำต่างๆเช่น ปลา ปู กุ้ง หอย กบ แมลงต่างๆ รวมทั้งพืชผักต่างที่ขึ้นอยู่ริมสระเช่น ผักบุ่ง สายบัว นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่บริโภคของสัตว์เลี้ยงต่างๆ หนองส้มโฮงเป็นพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองจากรมศิลปากร ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2508 เป็นพื้นที่อนุรักษ์ห้ามซ่อมแซมปรับปรุง เนื่องจากเป็นพื้นที่โบราณตั้งแต่ตั้งบ้านแต่ก็มีการขออนุญาตทำการขุดลอกเพื่อใหช้ประโยชน์จน ปัจจุบันยังเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำของชุมชน และชุมชนยังใช้ประโยชน์ด้านการอุปโภคและยังเป็นพื้นที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนจากการใช้หนองส้มโฮงเป็นสถานที่ตกปลาของชาวบ้านที่สนใจหรือบุคคลภายนอกที่สนใจ เพื่อการสร้างรายได่ให้กับชุมชนจากการเก็บค่าตกเบ็ดคันละ 100 บาทปีหนึ่งได้เงินจำนวนมากและมีการนำเงินมาใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ภายในหมู่บ้าน



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านเมืองเตา ต. เมืองเตา อ. พยัคฆภูมิพิสัย จ. มหาสารคาม 44110

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

ผู้ใหญ่บ้านบ้านเมืองเตา

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

บ้านเมืองเตา ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : 2567 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :17 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 25/11/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 25/11/2024