ประวติผ้าก่วย ลาวเวียง ในอดีตก่อนชาวลาวเวียงชาวบ้านเลือกมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทำสวนทำไร่ใช้ชีวิตตามวิถี และมีการทอผ้าก่วยไว้ใช้ในครัวเรือน ใส่ไปทำนาทำไร่ และบ้างก็เก็บเอาใวใช้ใส่ไปทำบุญเข้าวัดยามเทศกาลสงกรานต์ หรืองานบุญเบิกบ้านงานบุญประจำปี และได้มีการสูญหายไป 40-50 ปี และไม่มีการทอผ้าเกิดขึ้นอีก สำหรับลายผ้าก่วยจะเป็นเอกลักษณ์ คือจะมีการวางสลับกันไปสลับเส้นไหมไปมา จนเกิดลวดล้ายกันรวมเป็นแถว และการวางเส้นให้มีความเป็นธรรมชาติ ทอง่ายไม่ซักซ้อน เวลาผ่านไป มีการมีความคิดริเริ่มในการเอาผ้าก่วยสมัยก่อนที่มีอยู่และยังไม่สูญหาย ของปู่ย่า ตายาย มาใส่เล่นน้ำสงกรานต์และมีความคิดที่อยากจะฟื้นฟูการทอผ้าจึงได้มีการนำลายผ้าก่วยที่ยังมีหลงเหลืออยู่ของคนแก่คนเฒ่า มาจ้างให้คนทอให้เป็นผ้าต้นแบบและต่อจากนั้นได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น ฟื้นฟูลายผ้าและการส่งเสริมวัฒนธรรมการทอผ้าและอนุรักษ์ผ้าก่วยของชาวลาวเวียงไม่ไห้สูญหายไป จึงได้เกิดศูนย์การเรียนรู้ การทอผ้าของชาวลาวเวียงขึ้นที่ หอวัฒนธรรมลาวเวียง ณ วัดโบสถ์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และได้มีการรวมตัวกันของชาวบ้า
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
.
เลขที่ : วัดโบสถ์ บ้านเลือก ต. บ้านเลือก อ. โพธาราม จ. ราชบุรี 70120
นายณัฐวุฒิ ทองอูบ
098-2733005
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง : 2567 Festival