PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : KP-56000-00002 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

คติความเชื่อศาสนาผีและพุทธ : ศาลผี และ วัดร้างเก่า ริมกว๊านพะเยา

ตำแหน่งบริบทที่ตั้งของกว๊านพะเยาในปัจจุบันแต่เดิมในสมัยโบราณ มีความสำคัญเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอันอุดมสมบูรณ์ที่เป็นแหล่งรวมน้ำจากเขาต้นน้ำหลายๆที่รอบเมืองพะเยามารวมกัน และไหลรวมกันกับแม่น้ำสายตา(แม่น้ำอิง)ที่มีลักษณะพิเศษคือไหลจากทิศใต้ย้อนขึ้นทิศเหนือ ซึ่งถือเป็นชัยภูมิที่สำคัญประการแรกของการตั้งเวียงพะเยา โดยสามารถพบได้ในเนื้อความของเอกสารตำนานเมืองพะเยา ฉบับสำนักหอสมุดแห่งชาติ ความว่า “...ท้าวทั้ง ๒ (พญาลาวเงินแลพญาจอมธรรม) ก็เอาอินทะราชาไปเลงแลดูสถานที่อันจักตั้งเวียงนั้นดังอั้น ก็มาหันยังไชยะมงคล ๓ ประการแล อัน ๑ ก็หันยังแม่น้ำอัน//ไหลแต่หนทักขิณ ไปหนอุตตะระ อัน ๑ ก็หันยันสระหนองใหญ่มีพายวัน ตก ก็เป็นเชยยะภูมิอัน ๑ แล อัน ๑ ก็หันเสนาพระตั้งไว้ ๒ อัน คือว่าพระธาตุ พระพุทธรูปเจ้าองค์ใหญ่ อันจักได้สร้างแลไหว้อุปปะถากรักษาสักการะปู่ชา ก็เป็นเชยยะภูมม์ อัน (๑) แล...” (อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว(ปริวรรต),ตำนานเมืองพะเยา และค่าวซอคำเล่นเป็นแท้, 2527) *ในยุคสมัยช่วงพุทธศตวรรษที่21 สถานภาพที่สำคัญของกลุ่มโบราณสถาน วัดติโลกอารามและกลุ่มวัดร้างในกว๊านพะเยา ปรากฏข้อมูลอย่างชัดเจนอันเกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลทางการเมืองการปกครองของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้สังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 8 ของโลกแห่งแคว้นล้านนา ที่มีส่งอิทธิพลต่อพระญายุธิษฐิระเจ้าเมืองเชลียงเดิมที่มาสวามิภักดิ์กับพระเจ้าติโลกราชและปกครองเมืองพะเยาในช่วงเวลานั้น



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the .

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. เวียง อ. เมืองพะเยา จ. พะเยา 56000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นาย วรินทร์ รวมสำราญ

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

วรินทร์ รวมสำราญ : มหาวิทยาลัยพะเยา :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :501 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 09/01/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 09/01/2022