ชุมชนศรีปันครัว เครื่องเขิน (LACQUERS WARES) เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นภาชนะรูปทรงต่างๆ ที่เกิดจากการขดหรือสาน ไม้ไผ่ ให้ได้รูปทรงตามต้องการ จากนั้นนำมาเคลือบด้วยยางรัก เพื่อให้ภาชนะมีความคงทนแข็งแรงมากขึ้น แล้วจึงตกแต่งโดยการเขียนลวดลายด้วยชาด หรือการขูด ลาย และบางครั้งยังมีการประดับด้วยทองคำเปลว หรือเงินเปลวด้วย ซึ่งภาชนะเครื่องเขินนี้จะมีชื่อเรียกรวมๆ ในภาษาพื้นเมืองว่า “คัวฮักคัวหาง” หรือ “เครื่องฮัก เครื่องหาง” หรือ “เครื่องฮักเครื่องคำ” ขึ้น อยู่กับลักษณะของประดับตกแต่ง ว่าตกแต่งด้วยขาดหรือทองคำเปลว และเรียกชื่อภาชนะแต่ละชนิดไปตามหน้าที่การ ใช้สอย เช่น ขันดอก ขันหมาก ขันโอ หีบผ้า แอ๊บ อูบ หรือปุง ส่วนชื่อเรียก “เครื่องเขิน” นั้น สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ โดยเรียกไปตามชื่อของ กลุ่มชนชาวไทเขิน หรือ ไทขิน ที่มีความชำนาญในการผลิตภาชนะเครื่องใช้ประเภทนี้ บ้านศรีปันครัว ตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเพียงไม่กี่ชุมชนที่ยังมีการทำเครื่องเขินทั้งแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์ เช่น “ขันแดง” ภาชนะทรงกลม ใช้ในพิธีกรรมและการตกแต่ง รวมถึงยังมีการขึ้นรูปทรงเป็นภาชนะแบบต่างๆ เช่น พาน ตะลุ่ม ขันหมาก หีบผ้า ขันโตก และ ขันโอ เป็นต้น แต่เนื่องจากในปัจจุบัน วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องเขินทั้งรักและชาดนั้นค่อนข้างหายากและมีราคาสูง ดังนั้นชาวบ้านศรีปันครัวจึงเปลี่ยนมาใช้วัสดุสมัยใหม่ เช่น สีน้ำมัน และ สีพลาสติกทดแทน
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : ศรีปันครัว ต. ท่าศาลา อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50000
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2567 Open call