PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : EL-50270-00008

ภาษาลัวะ
Lawa language

ภาษาลัวะ ภาษาลัวะเป็นภาษาในตระกูลออสโตร-เอเชียติก ในกลุ่มมอญ-เขมร อันเป็นชนกลุ่มพื้นเมืองในบริเวณภาคเหนือของไทย และมักกล่าวถึงต้น ๆ ในตำนานต่าง ๆ ในดินแดนแห่งนี้ทุกคนให้ความสำคัญกับชาวลัวะว่าเป็นพี่ใหญ่ ชาวลัวะบางคนนั้นสามารถพูดภาษาปกาเกอะญอได้ พูดภาษาคำเมืองได้ พูดภาษาไทย และอังกฤษได้ ในปัจจุบัน แต่จะหาคนต่างภาษามาพูดภาษาลัวะได้นั้น น้อยมาก อีกประการหนึ่งเนื่องจากภาษาลัวะอยู่ในกลุ่ม มอญ – เขมร จึงทำให้ภาษาลัวะเป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ เวลาที่พูดภาษาคำเมืองก็จะเหมือนกับชาวมอญพูดภาษาไทยหรือชาวขมุพูดคำเมือง ทำให้บางคำก็ฟังดูยากเต็มที คนรุ่นก่อนอาจจะเรียนภาษาไทยยาก ด้วยสื่อตอนนั้นก็น้อย แต่ปัจจุบันสื่อภาษาไทยต่างๆ หาได้ง่าย และคนรุ่นใหม่เข้าสู่ระบบโรงเรียน ทำให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้ภาษาอื่นได้ง่ายขึ้น โดยปกติ ชาวลัวะในตำบลปางหินฝน จะมีการใช้คำศัพท์ใกล้เคียงกัน แต่จะแตกต่างกันตรงสำเนียง และแต่ละสำเนียงก็จะบ่งบอกถึงความเป็นหมู่บ้านนั้นๆ ส่วนทางบ้านมืดหลอง จะมีการใช้คำศัพท์บางคำที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมก็มีความเข้าใจกันได้ดี เช่นเดียวกับลัวะทางอำเภอแม่ลาน้อยและแม่สะเรียง แต่ภาษาลัวะทางเมืองฮอด จะฟังกันไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าใด ภาษาลัวะ สำหรับคนไทยวนเอง มักจะออกเสียงยาก คำบางคำในชื่อบ้านนามเมืองอาจจะเป็นภาษาลัวะที่อยู่มาแต่เดิม แล้วพอคนไทยวนเข้ามา ก็จะลากเข้าความในภาษาไทยวน เช่น “อมก๋อย” ที่เป็นชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ คนไทยวนได้ยินก็เข้าใจในภาษาตนเองว่า เป็นเมืองที่อดอยากอดกลั้นจนต้องเอากลอยมาอม แต่แท้จริงแล้ว อมก๋อย เป็นภาษาลัวะ แปลว่าขุนน้ำ “ลอง” มักจะรู้จักกันในชื่อ อำเภอลอง จังหวัดแพร ซึ่งคำว่าลอง ในภาษาลัวะแปลว่าดำ พอไทยวนเข้ามาจึงลากเข้าความหมายไทยวนว่า เป็นเมืองที่พระนางจามเทวีมาทดลองสร้างเมืองก่อน “ปิง” อันเป็นชื่อแม่น้ำหลักของจังหวัดเชียงใหม่ โดย คำว่าปิง ในภาษาลัวะแปลว่า ขาวแม่น้ำปิงก็อาจจะหมายถึงขาวก็ได้ โดยที่ไทยวนได้แต่งตำนานว่า แม่น้ำปิง มาจากคำว่าแม่น้ำปลาปิ้ง “ระมิง” คำนี้ปัจจุบันเขียนแบบภาษาบาลีว่า “ระมิงค์” อันหมายถึงแม่น้ำปิง บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะมาจากคำว่า “ลัวะ-เม็ง” แล้วกลายเป็น ระมิง แต่ในภาษาลัวนั้น ระมิง คือคำเรียกแม่น้ำปิง ในภาษาลัวะโดยตรงนั่นเองซึ่งอาจจะมีอีกหลายคำอันเป็นชื่อบ้านนามเมืองที่เราอาจจะไม่เข้าใจ แล้วจึงแต่งตำนานเข้าประกอบตามความเข้าใจของตน ทั้งที่คำดั้งเดิมอาจจะมาจากภาษาลัวะนี้ก็เป็นได้ เป็นต้น การออกเสียงของชาวลัวะนั้น แต่ละหมู่บ้านจะออกเสียงต่างกัน โดยต่างกันในคำศัพท์คนละคำ หรือ บางคำเป็นคำเดียวกันแต่ต่างที่เสียงสั้นเสียงยาวหรือโทนเสียงต่างกัน



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ภาษา : EL : Thai local and Ethnic Languages ภาษากลุ่มชาติพันธุ์
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านกอกน้อย ต. ปางหินฝน อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 50270

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นางกรุ ศักดิ์สืบสกุล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

0636755929

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

เจษฏา สุภาศรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :2 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 20/12/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 20/12/2024